Page 28 - 120ปี บารมีพระปกเกล้า รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง และการประชันกลอนสด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P. 28

14

                 รวมผล​งานการประกวด​วรรณกรรมรอ้ ยกรอง

ผลการสัมมนาของกวีกลุ่มนาครที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ใช้เวลาอภิปรายกัน
๒ วัน สรุปได้ว่า การพิจารณาต้องดูที่รูป (ยกเว้นคำ�ในตระกูลอินโดยูโรเปียน) ถ้ามีไม้ไต่คู้ก็ต้อง
สัมผัสกับคำ�ที่มีไม้ไต่คู้เหมือนกัน เช่น เป็น-เข็ญ-เห็น-เบญจ (บาลี) ถ้าไม่มีไม้ไต่คู้ก็สัมผัสกับ
คำ�ที่ไม่มีไม้ไต่คู้เหมือนกัน เช่น แปลง-แกร่ง-แย้ง-แห่ง แต่กวีก็ยังมีความเห็นเป็นหลายทาง ที่
อาจารย์นำ�เสนอก็เพื่อให้ผู้เขียนกลอนเข้าประกวดระมัดระวัง
อาจารย์ชมพร เพชรอนันต์กุล บรรยายเรื่อง “เขียนกลอนอย่างไรให้ถูกใจผู้อ่าน”
อาจารย์ก็พูดได้ถูกใจผู้ฟังจริงๆ มีลูกเล่นแพรวพราวสมเป็นวิทยากรที่เชี่ยวชาญการอบรมการ
แต่งบทร้อยกรอง อาจารย์อ้างบทกลอนของ คมน์ เมืองนคร เป็นหลักในการบรรยาย
			ต้นตื่นเต้นเน้นคำ�อารัมภบท 		 กลางกลมกลืนรื่นรสแนบเป็นหนึ่ง
จบจับใจให้ผู้ฟังนั่งตะลึง  	 อีกอย่างพึงรู้จักสร้างวรรคทอง
	 ระหว่างการบรรยาย อาจารย์ยกตัวอย่างงานเขียนของกวีเด่นหลายท่าน เช่น สวัสดิ์
ธงศรีเจริญ ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร อำ�พล สุวรรณธาดา นภาลัย สุวรรณธาดา รวมทั้งบทกลอน
ของอาจารย์ชมพรเอง ตัวอย่างหนึ่งที่อาจารย์แต่งคือ “น้ำ�ใจนักกีฬา” ซึ่งให้ข้อคิดแก่เยาวชนและ
เหมาะกับยุคสมัย
			รู้แพ้รู้ชนะอภัยโทษ				 ไม่ถือโกรธนักกีฬาใจกล้าหาญ
คนเขาวัดค่าของคนด้วยผลงาน			 รู้จักกาลรู้จักตนคือคนดี
งานสิ่งใดมุ่งทำ�ย่อมสำ�เร็จ			 ดุจได้เพชรล้ำ�ค่าเลิศราศี
หากไม่ลืมคำ�ว่าสามัคคี				 ย่อมไม่มีผู้แพ้อย่างแน่นอน
ตัวอย่างที่ประทับใจมากของการจบอย่างจับใจคือ การจบแบบหักมุม ได้ยกบทกลอน
“ปี่” ของ ประสิทธิ์โรหิตเสถียร ที่พรรณนาการเล่นเพลงต่างๆ ทั้งไทยและสากล แล้วจบด้วย
วรรคทองแบบหักมุม “จำ�นำ�ได้ สองร้อย คอหอยบวม!”
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33