Page 29 - 120ปี บารมีพระปกเกล้า รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง และการประชันกลอนสด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P. 29
15
เพือ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อยหู่ วั
อาจารย์ชมพรตบท้ายด้วยข้อควรจำ�คือ “ถูกฉันทลักษณ์ สร้างวรรคทอง กรองแต่เนื้อ
อย่าเบื่อเขียน เพียรพบครู” อีกทั้งได้ฝากข้อคิดที่ประทับใจว่า ให้คิดว่าการเขียนเป็นการสร้าง
ผลงานให้แผ่นดิน ให้เขียนบ่อยๆ อย่ามีชีวิตเพื่อการประกวดเพียงอย่างเดียว
หลังการบรรยายของกวี ๓ ท่าน อาจารย์วิษณุ พุ่มสว่าง จากโรงเรียนกระทุ่มแพ้ว
วิทยา จังหวัดปราจีนบุรี ได้มาเล่าประสบการณ์การแข่งแต่งกลอนที่ได้รางวัลมามากและเสนอ
เทคนิคการแต่งกลอนให้นักเรียนฟัง (อาจารย์พานักเรียนมาแข่งในครั้งนี้ และในวันรุ่งขึ้น นักเรียน
คนหนึ่งที่อาจารย์พามาก็ได้รางวัลด้วย) อาจารย์เล่าว่าอาจารย์ใช้เทคนิค สี่คู่พิฆาตศึก กลอน ๘
วรรค คือ ๔ คู่ อาจารย์ใช้วิธีวางแผนว่าต้องการเขียนเกี่ยวกับอะไร จะสรุปอย่างไร แล้วเรียบ
เรียงความคิด อาจารย์มักเขียนคู่สุดท้ายซึ่งถือว่าเป็นท่าไม้ตายไว้ก่อน แล้วจึงเขียนคู่แรกๆ แต่ละ
คู่ วรรคแรกเขียนเรื่องอะไร วรรคสองต้องจบเรื่องนั้นให้ได้ เทคนิคของอาจารย์วิษณุก็คือการจัด
ระบบความคิดนั่นเอง บทกลอนที่อาจารย์ยกมาเฉพาะที่แต่งตอนจบไว้ก่อน มีตัวอย่างเช่น
……………………………………………………………….
อยากเคารพธงชาติประกาศชัย ไม่อยากเห็นศพใหม่ใต้ธงคลุม
ตัวอย่างต่อไปเป็นกลอนตอนจบอีกเหมือนกัน
……………………………………………………………….
น้ำ�สะอาดขาวใสได้จากกรอง คนดีต้องขาวใสได้จากงาน
อาจารย์วิษณุให้นักเรียนในห้องประชุมลองเขียนวรรคแรกๆ โดยใช้คำ�กลอนข้างต้นเป็น
ตอนจบ ผู้ที่แต่งได้ถูกใจ อาจารย์มีรางวัลให้ ผู้สนใจการแต่งกลอนอาจลองใช้เทคนิคแต่งกลอน
แบบนี้ ที่สำ�คัญคือ การแต่งกลอนเป็นการจัดระบบความคิด ระบบใดจะเหมาะกับเราก็ลองทำ�ดู