Page 24 - 120ปี บารมีพระปกเกล้า รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง และการประชันกลอนสด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
P. 24
10
รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรอง
““คา่ ยกลอนซ่อนกลมากมนตข์ ลัง””
วิทยากรรุ่นเก๋าเฝ้าฟูมฟัก รอบรู้หลักวิธีคิดวินิจฉัย
ครูประยอม เอื้อนเอ่ยเฉลยนัย ชี้ทางให้เลิศล้ำ�เข้มคำ�คม
หนึ่งใช้ “คำ�สามัญ” อันอ่านง่าย แต่พริ้งพรายเลือกคำ�เพราะได้เหมาะสม
สองเสน่ห์ที่ “จริงใจ” ในอารมณ์ ไม่แสร้ง “ข่ม” เพื่อให้คำ�สัมผัสพราว
สาม “ใจความสร้างสรรค์” ชัดจุดหมาย เข้าใจง่ายจุดประสงค์ตรงย่างก้าว
ไม่ต้องเสียเวลาตีความยาว อ่านทุกคราวเข้าใจได้ทันที
จงรักษาสามดีตรงนี้ไว้ แล้วต่อไปค่อยเพิ่มเติมเสริมวิถี
เช่น “สำ�นวนโวหาร” สรรวจี และพึงมี “สะเทือนใจ” ให้ตราตรึง
ครูแสนดี ครูนภาลัย ให้ความรู้ คำ�ของครูธรรมดาแต่น่าทึ่ง
สร้างวรรคทองครองใจให้คำ�นึง โลกซาบซึ้งอรรถรสบทประพันธ์
“คำ�สัมผัสที่เห็นเป็นปัญหา” อาจลบค่าผลงานการสร้างสรรค์
“ไม้ไต่คู้” ใช่จัดว่าอัศจรรย์ สระสั้นหรือยาว...เราพึงตรอง
“เป็น เข็น เย็น เล่น เว้น เส้น เขม้น เด่น เช่น เว้น” ดูท่าน่าปวดสมอง
“รูปสระ” ยาวหรือสั้นจงกลั่นกรอง เชื่อคำ�ของครูไว้ไม่อำ�พราง
“ไม้ไต่คู้” ท่านให้ รับ “ไม้ไต่คู้” ปากกับหูอาจเพี้ยนเปลี่ยนไปบ้าง
ถ้า “ยึดรูปสระ” ไว้ไม่ผิดทาง ดูตัวอย่าง “น้ำ�กับช้ำ�” อำ�เหมือนกัน