Page 42 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 42

10-32 การวิจัยการบริหารการศึกษา

การด�ำ เนินการพัฒนาเครอ่ื งมอื การวิจยั

       เครื่องมือการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ส่วนมากไม่ใช้เครื่องมือมาตรฐานแต่อาจเป็นเครื่องมือที่มี
ประสิทธิภาพสูงในการใช้งานกับงานวิจัยนั้น ๆ เครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นจึงมีลักษณะ เฉพาะงานวิจัยเรื่องหนึ่ง
ซึ่งอาจจะไม่สามารถนำ�ไปใช้กับงานวิจัยเรื่องอื่น ๆ ได้ แต่สามารถนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาได้ ใน
การวิจัยแต่ละเรื่องผู้วิจัยจึงต้องสร้างเครื่องมือขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับธรรมชาติประชากรที่ศึกษา ทำ�ให้งาน
วจิ ยั ทางสงั คมศาสตรเ์ ปน็ งานทีย่ ุง่ ยากกวา่ งานวจิ ยั ทางวทิ ยาศาสตรเ์ พราะตอ้ งเสยี เวลามากกบั การสรา้ งเครือ่ ง
มือการวิจัยและใช้ได้ครั้งเดียวจะไม่สามารถนำ�กลับมาใช้ได้อีก จะต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนนำ�มา
ใช้ใหม่ในทำ�นองเดียวกัน การทำ�วิจัยด้านบริหารการศึกษาซึ่งเป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผู้วิจัยไม่อาจนำ�
เครื่องมือวิจัยของผู้อื่นมาใช้ได้ทันที แม้ว่าชื่อเรื่องและตัวแปรจะคล้ายกัน ผู้วิจัยต้องพัฒนาเครื่องมือขึ้นมา
ใหม่และทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยแต่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่อยู่
ในกลุ่มประชากรกลุ่มเดียวกัน หลักการสร้างและพัฒนาเครื่องมือการวิจัยทางด้านการบริหารการศึกษาอาจ
มีความยุ่งยากและมีหลายขั้นตอน

       ในทางปฏิบัติ ภาพรวมของการพัฒนาเครื่องมือการวิจัยทางการบริหารการศึกษาที่เป็นเชิงปริมาณ
ก็คือ เมื่อนักวิจัยก�ำ หนดเรื่องที่จะศึกษาและวัตถุประสงค์ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปได้แก่ การระบุกรอบแนวคิด
เชิงทฤษฎีที่นักวิจัยจะใช้ในการมองหรือวิเคราะห์ปัญหา กรอบแนวคิดนี้ได้มาจากการทบทวนเอกสาร และ
จากกรอบแนวคิดนี้เองที่นักวิจัยพยายามแยกแยะองค์ประกอบหรือกลุ่มของตัวแปรหรือตัวแปร จัดกลุ่ม
องค์ประกอบหรือตัวแปรเสียใหม่ให้เหมาะสม หรือคงไว้ตามทฤษฎีหรือแนวคิดเดิมแล้วแต่กรณี หลังจาก
นั้นจึงกำ�หนดคำ�นิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) สำ�หรับองค์ประกอบหรือตัวแปร ต่อจากนั้น
จึงกำ�หนดวิธีการและประเภทของเครื่องมือที่เหมาะสมกับนิยามเชิงปฏิบัติการขององค์ประกอบหรือตัวแปร
เพื่อให้สามารถวัดได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยต่อไป เมื่อเลือกวิธีการในการวัดตัวแปรได้แล้ว ต้อง
กำ�หนดว่าจะรวบรวมข้อมูลบันทึกในเครื่องมือประเภทใด (แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต หรือ
แบบทดสอบ) แล้วดำ�เนินการพัฒนาเครื่องมือต่อไป

       แนวทางการพัฒนาเครื่องมือตามที่กล่าวข้างต้นนี้สามารถนำ�เสนอด้วยภาพที่ 10.13 เพื่อให้เห็นภาพ
รวมทัง้ หมดของกระบวนการวจิ ยั ทีต่ อ้ งสมั พนั ธต์ อ่ เนือ่ งและรบั กนั จงึ จ�ำ เปน็ ตอ้ งกลา่ วยอ้ นไปถงึ วตั ถปุ ระสงค์
และกรอบแนวคิดในการวิจัยด้วย มิใช่จำ�กัดลงเฉพาะส่วนเครื่องมือแต่ประการเดียว ทั้งนี้เพราะเนื้อหา
ที่บรรจุในเครื่องมือหรือตามที่ปรากฏในข้อคำ�ถามต่าง ๆ ได้มาจากการทบทวนเอกสารที่ได้กำ�หนดกรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎี การวัดค่าตัวแปรโดยเครื่องมือที่กำ�หนดต้องสัมพันธ์กับกรอบแนวคิด และต้องรับกัน
กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังจะได้นำ�เสนอตัวอย่างตามลำ�ดับขั้นตอน ดังนี้ (นรา สมประสงค์ และนิตยา
ภัสสรสิริ. 2551: 29-30)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47