Page 35 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 35

สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-25

ตั้งแผนกจิตเวชในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและมีบริการตรวจจิตเวชทุกสาขา คือ จิตเวชเด็ก จิตเวชวัยรุ่น
และจิตเวชผู้ใหญ่ ฯลฯ ดำ�เนินงานโดยทีมจิตเวช จิตแพทย์ แพทย์ทั่วไป นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ

       1.2 	มหาวิทยาลัยราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้กำ�หนด
นโยบายในการด�ำ เนนิ การแนะแนวเพือ่ ใหเ้ ปน็ งานบรกิ ารสง่ เสรมิ พฒั นาบณั ฑติ ในทกุ สาขาวชิ าชพี ใหม้ คี ณุ ภาพ
โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนางานแนะแนวการศึกษาและอาชีพขึ้น เพื่อทำ�หน้าที่ประสานงานสาขา
วิชาศูนย์สนเทศแนะแนวการศึกษาและอาชีพ สำ�นักงานสภาราชภัฏและมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยกัน รวมทั้ง
ให้ข้อคิดเห็น และเสนอแนะเกี่ยวกับการกำ�หนดนโยบายแผนงาน และการประเมินผลงานแนะแนวทางการ
ศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งด้วย

       นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง จัดตั้งศูนย์สนเทศแนะแนวการศึกษาและ
อาชีพขึ้นให้ครบทุกแห่งภายในแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 7 (2535-2537) เพื่อ
เป็นศูนย์กลางให้บริการสารสนเทศทางการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ บริการให้คำ�ปรึกษา จัดหางานและ
ฝึกอบรมเสริมทักษะประสบการณ์ในงานอาชีพ รวมทั้งการศึกษาวิจัยทางด้านการแนะแนว

       ในด้านพัฒนาบุคลากรแนะแนว สภามหาวิทยาลัยราชภัฏจัดให้มีการประชุมสัมมนาและฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาบุคลากรในศูนย์สนเทศแนะแนวการศึกษาและอาชีพทุกปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมความรู้
ความเข้า ประสบการณ์ และทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ
2540: 15,20)

       1.3 	มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศกึ ษาธิการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสว่ น
กลางดำ�เนินงานแนะแนวโดยฝ่ายแนะแนวการศึกษาและอาชีพ กองบริการ ส่วนในสถานศึกษา ดำ�เนินงาน
โดยแผนกแนะแนว ฝ่ายกิจการนักศึกษา โดยจัดบริการให้คำ�ปรึกษา บริการสนเทศ (ห้องสมุด) ปฐมนิเทศ
เชิญวิทยากรบรรยายพิเศษ บริการจัดหางาน จัดทุนการศึกษา จัดนิทรรศการการศึกษาต่อร่วมกับหน่วยงาน
ต่างๆ และการติดตามประเมินผลผู้สำ�เร็จการศึกษาร่วมกับทุกสถานศึกษา

       1.4 	กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีรูปแบบการดำ�เนินงานของการศึกษานอกโรงเรียนที่ชัดเจน เมื่อปี
พ.ศ. 2531 มีระบบการดำ�เนินงานการติดตาม มีการพัฒนาบุคลากรแนะแนวในโรงเรียนจังหวัดและศูนย์การ
ศึกษานอกโรงเรียนทั่วประเทศ (ทองอยู่ แก้วไทรฮะ 2533: 620) โดยกลุ่มเป้าหมาย มีทั้งนักศึกษาผู้ใหญ่ใน
ระบบชั้นเรียน กึ่งชั้นเรียนและประชาชนทั่วไปกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีพื้นที่ปฏิบัติงานครอบคลุมพื้นที่ทั่ว
ประเทศ ทั่วเขตพื้นที่ในเมืองใหญ่ ระดับจังหวัด ระดับอำ�เภอ ระดับตำ�บล และระดับหมู่บ้าน และมีวิธีการ
ให้บริการแนะแนวโดยสร้างเครือข่ายกับองค์กรต่างๆ โดยมีวิธีดำ�เนินการดังนี้ (ทองอยู่ แก้วไทรฮะ 2533:
639-340)

            1) 	 จัดประชุม สัมมนาบุคลากรขององค์กรต่างๆ เพื่อประสานงานในการบริการแนะแนวการ
ศึกษานอกระบบเกี่ยวกับพื้นที่กลุ่มเป้าหมายและกิจกรรมการให้บริการแนะแนว

            2) 	 ผลิตสื่อ แลกเปลี่ยนสื่อและข้อมูลในการให้บริการแนะแนว
            3) 	 จัดบริการแนะแนวเคลื่อนที่ ลงสู่พื้นที่ร่วมกับองค์กรแนะแนวในส่วนท้องถิ่น
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40