Page 31 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 31

สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-21

            สาระของการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ด้านอาชีพ มีตัวอย่างดังนี้
                - 	 ข้อสนเทศด้านอาชีพ
                - 	 เป้าหมายในงานอาชีพ
                - 	 ยุทธศาสตร์การมีงานทำ�
                - 	 การพัฒนาทักษะการหางาน และเข้าสู่งานอาชีพ
                - 	 ทักษะการทำ�งาน และการปรับตัวเข้ากับงาน
                - 	 การอบรมเพิ่มทักษะในงานอาชีพ และอาชีพเสริม
                - 	 การวางแผนอาชีพในอนาคตหลังจากเกษียณ
                - 	 โลกของอาชีพในอนาคต

            3.6.3 	การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ด้านส่วนตัวและสังคม มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อให้บุคคลในวัยผู้ใหญ่ได้เข้าใจ รู้จักและยอมรับตนเองตามความเป็นจริง มีเจตคติต่อการดำ�เนินชีวิตใน
ทางบวก ปรับตัวได้ มีบุคลิกภาพดี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และพัฒนาตนให้เป็นบุคคลที่มีความสุข
สงบ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

            สาระของการแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผูใ้ หญด่ า้ นสว่ นตวั และสงั คม มตี วั อยา่ งดงั นี้
                -	 การส่งเสริมเจตคติทางบวกแก่ตนเองและผู้อื่น
                -	 การพัฒนาบุคลิกภาพ
                -	 การแนะแนวสุขภาพสำ�หรับช่วงวัยต่างๆ
                -	 การเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี
                -	 การพัฒนาทักษะการดำ�เนินชีวิต
                -	 การพัฒนาทักษะทางสังคม
                -	 การพัฒนาแผนการดำ�เนินชีวิต
                -	 การพัฒนาค่านิยม ศีลธรรม จรรยาที่พึงประสงค์
                -	 การดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ในอนาคต
                -	 การเตรียมตัวเกษียณ

4. 	สภาพท่ีพงึ ประสงคข์ องการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจติ วิทยาผ้ใู หญด่ ้านวชิ าการ

       สภาพที่พึงประสงค์ของการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ด้านวิชาการ ควรครอบคลุม
ในเรื่องการสร้างและการใช้องค์ความรู้เพื่อการแนะแนว ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว และจรรยาบรรณ
ของนักแนะแนว ดังนี้

       4.1 	การสรา้ งและการใชอ้ งคค์ วามรเู้ พอื่ การแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผใู้ หญ่ นกั แนะแนว
ผู้ใหญ่ควรจะต้องทำ�การวิจัยและประเมินผลการดำ�เนินงานแนะแนวผู้ใหญ่อย่างเป็นระบบในทุกงานที่จัด
บริการ วิธีการประเมินนั้นอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโครงการ และควรใช้ทั้งวิธีการ
ประเมินเชิงปริมาณและวิธีการประเมินเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูลจากผู้รับการแนะแนวและผู้เกี่ยวข้อง
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36