Page 29 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 29

สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-19

            3.2.7 	 ควรจดั กจิ กรรมแนะแนวทีต่ รงกบั ปญั หาและความตอ้ งการในยคุ สมยั นัน้ และสามารถ
นำ�ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ทันที

            3.2.8 	 ควรดำ�เนินการภายใต้การนำ�ของบุคคลที่มีความรู้ และผ่านการศึกษาอบรมมาอย่าง
เชี่ยวชาญ ในด้านการแนะแนวการให้การปรึกษา และสามารถให้การนิเทศ ศึกษาอบรมบุคคลอาสาสมัคร
(Paraprofessional) ให้มาช่วยดำ�เนินการแนะแนวและให้บริการปรึกษาได้ด้วย

            3.2.9 	 ควรดำ�เนินการโดยทีมสหวิทยาการ (Interdisciplinary) กล่าวคือ มีบุคคลหลายฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องมาดำ�เนินการร่วมกัน หรือประสานกัน เช่น นักแนะแนว นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นัก
กฎหมาย พยาบาล จิตแพทย์ และผู้บริหาร เป็นต้น

            3.2.10 ควรดำ�เนินการในลักษณะเชิงรุก (Proactive) โดยก้าวออกไปสู่ชุมชน เช่น การตั้ง
คลินิกการให้บริการปรึกษาเคลื่อนที่ในชุมชนที่มีปัญหาเร่งด่วน และมีปัญหาเกิดขึ้นมาก

       3.3 	กลุ่มเป้าหมายผู้รับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในวัยผู้ใหญ่ บุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่
เป็นกลุ่มเป้าหมายของการแนะแนว สามารถจำ�แนกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น

            3.3.1		 อายุ อาจแบ่งเป็น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (20-40 ปี) วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (40-60 ปี)
และวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (65 ปีขึ้นไป)

            3.3.2		 ระดับการศึกษา อาจแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
สูงกว่ามัธยมศึกษา แต่ตํ่ากว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี

            3.3.3		 อาชีพ อาจแบ่งเป็น กลุ่มภาคราชการ ภาคเอกชน และผู้ประกอบอาชีพอิสระ กลุ่ม
ภาคราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการทหาร ตำ�รวจ เป็นต้น กลุ่มภาคเอกชน
ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น และพนักงานทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ ผู้ประกอบ
อาชีพค้าขาย เจ้าของกิจการ เจ้าของร้านค้า และรวมทั้งเกษตรกร

            3.3.4 	 ถิ่นที่อยู่ อาจแบ่งเป็นผู้อาศัยในเขตเมือง และผู้อาศัยในเขตชนบท
            3.3.5 	 สถานภาพที่อาศัยอยู่ อาจแบ่งเป็น ผู้อยู่ในสถาบันการศึกษา ครอบครัว หน่วยงาน
และสถานสงเคราะห์
            3.3.6 	 กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่ กลุ่มผู้ลี้ภัย กลุ่มผู้ประสบภัยพิบัติ กลุ่มผู้ด้อย
โอกาสในสังคม กลุ่มผู้ป่วยทางจิต กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มคนชรา กลุ่มสตรีที่ถูกทารุณกรรม กลุ่มหญิงตั้ง
ครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนไร้ที่อยู่อาศัย กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มคนยากจน
กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มผู้ติดยาเสพติด และกลุ่มผู้ติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น
       3.4 	บริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ ควรจัดบริการดังต่อไปนี้
            3.4.1 	 บรกิ ารศกึ ษาและรวบรวมขอ้ มลู เปน็ รายบคุ คล อาจจดั อยูใ่ นรปู แบบของระเบยี นสะสม
แฟ้มสะสมงาน และประวัติบุคคล เป็นต้น
            3.4.2 	 บริการสนเทศ ทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม โดยอาจจัด
ให้มีบริการห้องสมุดอาชีพขึ้นมาโดยเฉพาะ
            3.4.3 	 บริการปรึกษาเป็นรายบุคคล บริการปรึกษาเป็นกลุ่ม และบริการปรึกษาครอบครัว
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34