Page 32 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 32

4-22 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

ผลการประเมินนั้นต้องนำ�ไปใช้เพื่อการปรับปรุงวิธีการดำ�เนินงานแนะแนวผู้ใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้อาจสร้างฐานข้อมูลวิจัยทางการแนะแนวไว้ให้ครอบคลุมทุกมิติของการวิจัยทางด้านการแนะแนว

       4.2 	ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ จำ�เป็นต้องใช้บุคลากร
ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการให้ความช่วยเหลือ และการให้บริการปรึกษา ตลอดจนสามารถ
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยา ทฤษฎีการให้การปรึกษาและเทคนิคต่างๆ ในการให้การปรึกษาให้เหมาะสม
กับผู้รับบริการ และศึกษาปัญหาทางผู้รับการแนะแนว รวมทั้งต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ หรือไป
ฝึกอบรมในเทคนิคเฉพาะทางหรือความรู้ใหม่ๆ ในการแนะแนว

       นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบผลิตบัณฑิตทางด้านจิตวิทยาการแนะแนวและจิตวิทยา
การให้คำ�ปรึกษา ควรจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาจิตวิทยาแนะแนวผู้ใหญ่และจิตวิทยาการให้การ
ปรึกษาผู้ใหญ่ในช่วงวัยต่างๆ ด้วย รวมทั้งผลิตตำ�ราและงานวิจัยในด้านนี้ให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

       4.3 จรรยาบรรณของนักแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ ในประเทศไทยมีการกำ�หนด
จรรยาบรรณของนักแนะแนวไว้โดยสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย สำ�หรับนักแนะแนวผู้ใหญ่ อาจมีเพิ่ม
เติมโดยยึดหลักของมาตรฐานหลักที่กำ�หนดโดยทบวงมหาวิทยาลัย (2543: 3-4) เกี่ยวกับจรรยาบรรณที่
บุคลากรในงานบริการแนะแนวพึงปฏิบัติ ดังนี้

            4.3.1 	ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือเรื่องส่วนตัวของนักศึกษากับผู้อื่น ยกเว้นในกรณีที่เป็นงานทาง
วชิ าการ เชน่ การวจิ ยั ซึง่ ตอ้ งไดร้ บั อนญุ าตจากนกั ศกึ ษาเปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษรและตอ้ งไมร่ ะบชุ ือ่ และนามสกลุ
ของนักศึกษา

            4.3.2 	คำ�นึงถึงสวัสดิภาพของนักศึกษา และจะไม่ทำ�การใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่
นักศึกษาอย่างไม่เป็นธรรม

            4.3.3 	ไม่วิพากษ์วิจารณ์บุคคลหรือหน่วยงานใดให้นักศึกษาฟังในทางก่อให้เกิดผลเสียแก่
นักศึกษาหรือบุคคลหรือความแตกร้าวแก่บุคลากรหรือหน่วยงานนั้นๆ

            4.3.4 	ตระหนักในข้อจำ�กัดเกี่ยวกับการศึกษา ประสบการณ์ และความสามารถของตนเอง
หากมีนักศึกษาที่มีปัญหาที่เกินความสามารถที่จะช่วยเหลือได้ต้องส่งนักศึกษาไปรับบริการจากบุคลากรที่มี
ความสามารถช่วยเหลือนักศึกษาได้

       สภาพทีพ่ งึ ประสงคข์ องการแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผูใ้ หญ่ มสี าระสรปุ ส�ำ คญั ดงั ตอ่ ไปนี้
       1. 	วัยผู้ใหญ่ คือบุคคลที่เริ่มมีบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม มี
วุฒิภาวะ มีความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมมา มีอาชีพ และรายได้เป็นของตนเอง มีสุขภาพแข็งแรงจนถึงภาวะ
เสื่อมถอย ตลอดจนเป็นผู้มีอิสระเป็นตัวของตัวเอง และสามารถนำ�ตนเองและผู้อื่นได้
       2. 	ช่วงอายุระยะพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ มี 3 ช่วง ได้แก่ 1) วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุประมาณ
20-40 ปี) 2) วัยผู้ใหญ่กลางคน (อายุประมาณ 40-60 ปี) 3) วัยสูงอายุ (อายุประมาณ 60-65 ปีขึ้นไป)
       3. 	แนวคิดเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ของการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ด้าน
บริหาร ครอบคลุมถึงเรื่อง การจัดองค์กรแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ในสถานศึกษาและ
นอกสถานศึกษา บุคลากรดำ�เนินงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ทั้งในและนอกสถานศึกษา
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37