Page 27 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 27
สัมมนาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ 4-17
สำ�หรับเป้าหมายของการแนะแนวนั้น วชิรญา บัวศรี (2533: 16-17) ได้กล่าวไว้ว่า ประกอบด้วยการ
จัดกิจกรรมแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ใน 3 ลักษณะ คือ
3.1.1 การส่งเสริมและพัฒนา ซึ่งเน้นการให้ผู้รับการแนะแนวเข้าใจตนเอง เห็นตัวเองมี
คุณค่า พอใจที่จะเป็นตัวของตัวเอง การมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน และคนอื่นในสังคม รู้จักเป็นผู้ให้และ
ผู้รับ สามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ การสนองความต้องการของผู้รับการแนะแนว ในด้านที่เขาต้องการได้
รับความสำ�เร็จ และการส่งเสริมให้ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่
3.1.2 การปอ้ งกนั ซงึ่ เนน้ ปอ้ งกนั ปญั หาไมใ่ หเ้ กดิ ขึน้ หรอื ถา้ เกดิ ขึน้ กร็ ูจ้ กั วธิ แี กไ้ ขไดท้ นั ทว่ งที
รู้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้น รู้ว่าควรปฏิบัติตัวเช่นไร รู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักรักษาตนให้ปลอดโรคพ้นอันตราย
เปา้ หมายข้อนี้คอื เนน้ การป้องกันกอ่ นทีจ่ ะเกดิ ปญั หาขึน้ ซึ่งจะส�ำ เรจ็ ได้หากไดร้ ับความรว่ มมอื จากฝา่ ยต่างๆ
ทั้งทางบ้าน โรงเรียนและชุมชน
3.1.3 การแก้ไขปัญหา ซึ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ไม่รุนแรง หรือระยะเพิ่งเริ่มก่อตัวให้หายไป
หมดไป ปัญหาที่หนักให้บรรเทาจนหายไปในที่สุด การแก้ไขปัญหาจะประสบผลสำ�เร็จเกิดจากปัจจัยหลาย
ด้าน เช่น การสามารถวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุได้ถูกต้อง ความสามารถใช้เทคนิค วิธีการที่เหมาะสมในการ
แกป้ ญั หา การประสานความรว่ มมอื ฝา่ ยตา่ งๆ เปน็ ตน้ บคุ ลากรทีจ่ ะมคี วามสามารถดงั กลา่ วจะตอ้ งเปน็ ผูผ้ า่ น
การฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี เช่น นักแนะแนว นักจิตวิทยาคลินิก และจิตแพทย์ เป็นต้น
สำ�หรับวัตถุประสงค์ที่กำ�หนดไว้โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในแผนพัฒนาการ
แนะแนวกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2540-2544) ชว่ งพฒั นาแผนแมบ่ ทของการพฒั นางานแนะแนว
ซึ่งได้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลในวัยผู้ใหญ่ด้วย ในแผนพัฒนาดังกล่าวได้มุ่งพัฒนางาน
แนะแนวให้มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนทุกระดับทั้งในและนอกระบบการศึกษา รวมทั้งผู้ปกครอง
และประชาชนทั่วไปให้เป็นผู้มีคุณลักษณะดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2540: 1)
1) รู้จักตนเอง สามารถควบคุมตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นผู้มีความสุข มีคุณธรรม
และจริยธรรม
2) สามารถเลือกและตัดสินใจอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม
3) สามารถวางแผนและจัดชีวิต การเรียน และอาชีพอย่างมีคุณภาพ
4) รู้จักแสวงหาความรู้ และเพิ่มพูนทักษะ เพื่อพัฒนาตนสู่ความเป็นสากลบนพื้นฐาน
ของความเป็นไทย
5) มีจิตสำ�นึก และรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อ
บทบาทหน้าที่ในครอบครัวและสังคม
สำ�หรับจุดเน้นของการพัฒนาบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่กำ�หนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้
(กระทรวงศึกษาธิการ 2540: 6)
1) ผู้เรียนระดับอุดมศึกษา (อายุระหว่าง 19-24 ปี) มีจิตสำ�นึกทางสังคมอย่างสูง เคารพ
ตนเองและผู้อื่น มั่นใจในตนเอง รู้จักแสวงหาข้อมูล มีการตัดสินใจอย่างรอบคอบและรับผิดชอบในผลที่เกิด
ขึ้น รู้จักกติกา-กฎเกณฑ์ทางสังคมเป็นอย่างดี