Page 24 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 24
4-14 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
2.1 การจัดองค์กรแนะแนว สำ�หรับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ในสถานศึกษา
ซึง่ อยูใ่ นระดบั อดุ มศกึ ษานัน้ งานแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผูใ้ หญม่ กั ขึน้ อยูก่ บั ฝา่ ยกจิ การนกั ศกึ ษา
สว่ นงานแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผูใ้ หญน่ อกสถานศกึ ษา เชน่ การแนะแนวในองคก์ ร งานแนะแนว
และการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ควรอยู่ในฝ่ายบุคคลหรืองฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และอยู่ในหน่วย
บริการสุขภาพจิตและจิตเวชในองค์กรที่เป็นโรงพยาบาลและหน่วยงานบริการสาธารณสุข ซึ่งฝ่ายบริหาร
ที่กล่าวมานี้จะต้องจัดสายการบังคับบัญชาในองค์กรและในแต่ละคนให้ชัดเจน โดยงานนั้นอาจแบ่งสาย
งานโดยยึดภารกิจบริการแนะแนวทั้ง 5 บริการเป็นหลัก หรือแบ่งสายงานตามงานแนะแนวและการปรึกษา
เชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ที่ต้องปฏิบัติจริงในหน่วยงานนั้นๆ งานแต่ละงานต้องกำ�หนดนโยบาย วิธีดำ�เนินงาน และ
หน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรแต่ละตำ�แหน่งไว้อย่างชัดเจน
2.2 บุคลากร สำ�หรับงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ทั้งในสถานศึกษา และนอก
สถานศึกษา ประกอบด้วยผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ใน
หน่วยงาน หากเป็นงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ในสถานศึกษา ผู้บริหารสูงสุดอาจเป็น
ตำ�แหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา หรือผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา หากเป็นการแนะแนว
และการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่นอกสถานศึกษา หรืองานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ใน
องค์กร ผู้บริหารสูงสุดอาจเป็นตำ�แหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้จัดการฝ่ายบุคคล อธิบดี
หรือผู้อำ�นวยการ โดยหน้าที่ของผู้บริหารสูงสุดในงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ ต้องจัด
กระบวนการบริหารภายในฝ่ายต่างๆ ของงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ
เชน่ การวางแผน การจดั องคก์ ร การบรหิ ารงานบคุ คล การด�ำ เนนิ งาน การสัง่ การ การประสานงาน การรายงาน
และการงบประมาณ
นอกจากนี้บุคลากรในงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ยังประกอบด้วยผู้บริหาร
ระดับกลาง และผู้ปฏิบัติงานแนะแนว ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้บริหารระดับกลาง ระดับฝ่ายหรือระดับ
งาน และผู้ปฏิบัติงานแนะแนว ได้แก่ นักแนะแนว รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว เช่น แพทย์ พยาบาล
นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยา เป็นต้น โดยหน่วยงานทุกฝ่ายหรือทุกคนต้องมีบุคลากรเพียงพอกับ
ปริมาณงาน และต้องมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายของหน่วยงาน สำ�หรับ
ผู้ปฏิบัติงานแนะแนวจะต้องมีความรู้และทักษะในการทำ�งาน และสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยผู้ใหญ่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ส่วนผู้บริหารในระดับกลางจะต้องจัดกระบวนการบริหารงานบุคคลในฝ่ายแนะแนว ตั้งแต่
การวางแผน การพัฒนา การคัดเลือก การบำ�รุงรักษา และการให้พ้นหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 สิ่งอำ�นวยความสะดวก ที่จำ�เป็นต่อการดำ�เนินงานแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่
เช่น ห้องทำ�งาน ห้องประชุม โดยห้องทำ�งานของนักแนะแนวที่ทำ�หน้าที่ให้การปรึกษาต้องเป็นห้องที่เป็น
สัดส่วนเฉพาะ มีความมิดชิด สามารถเก็บเสียงให้อยู่ภายในห้องได้ และควรมีห้องให้การปรึกษาแยกกลุ่ม
อย่างน้อย 1 ห้อง ส่วนห้องประชุมอาจจัดเป็นส่วนกลางให้ใช้ร่วมกับงานอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ยังควรมีตู้เก็บ
เอกสาร เครือ่ งคอมพวิ เตอร์ โทรศพั ท์ โทรสาร และเครื่องใช้ส�ำ นักงานที่จ�ำ เป็นเพื่อใหบ้ คุ ลากรสามารถปฏบิ ัติ
งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ