Page 22 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 22

11-12 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

เร่อื งที่ 11.1.2 	แนวคดิ เก่ียวกบั เทคโนโลยกี ารศึกษา*

       เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันมีความส�ำคัญอย่างย่ิงต่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในการเรียนที่
เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ผู้สอนจึงต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีการศึกษาท่ีหลากหลาย เทคโนโลยีท่ีจะกล่าวถึงใน
หน่วยนี้ ได้แก่ เทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังรายละเอียดต่อไปน้ี

1. 	ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

       เมื่อได้ยินค�ำว่าเทคโนโลยีการศึกษา คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึงการน�ำ
เอาเทคโนโลยีทางด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการศึกษา น่ันก็คือ การน�ำเอาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เคร่ืองเสียง
เคร่ืองฉาย หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งก็เป็นความเข้าใจท่ีถูกเป็นบางส่วน ท่ีจริงแล้ว
ค�ำว่าเทคโนโลยีการศึกษามีความหมายมากกว่าน้ัน

       ใน ค.ศ. 1977 สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (AECT: Association for Educational
Communications and Technology) ได้ให้ค�ำนิยามเทคโนโลยีการศึกษาว่า “เทคโนโลยีการศึกษาเป็น
กระบวนการที่ซับซ้อนและผสมผสานกันโดยเก่ียวข้องกับคน วิธีการ แนวคิด เคร่ืองมือและการจัดการ เพ่ือ
ที่จะวิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาทั้งหลายท่ีเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์” (AECT, 1977)

       แต่ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะ ๆ ตามความ
เปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางเทคโนโลยี ในปัจจุบัน AECT ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า
“เทคโนโลยีการศึกษาเป็นท้ังทฤษฎีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการ
ประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรในการเรียนรู้” (Seels and Richey, 1994: 9)

       จากความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาที่ AECT ให้ไว้เม่ือ ค.ศ. 1994 จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการ
ศึกษามีความหมายท่ีชัดเจนขึ้นกว่าเดิม เน่ืองจากเดิมไม่ได้มีการก�ำหนดขอบเขต (domain) ไว้อย่างชัดเจน
เพียงแต่กล่าวไว้อย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นเรื่องท่ีเกี่ยวกับคน แนวคิด เครื่องมือ และการจัดการ แต่ในการก�ำหนด
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาโดย AECT เมื่อ ค.ศ. 1944 ได้ก�ำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ขอบเขตของ
เทคโนโลยีการศึกษาน้ัน ครอบคลุมท้ังการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ซ่ึง
ขอบเขตเหล่าน้ีไม่ได้แยกกันอย่างเป็นอิสระ แต่จะมีความสัมพันธ์กัน เช่น เมื่อจะใช้สื่อก็จะต้องน�ำเร่ืองของ
การออกแบบ การจดั การ และการประเมนิ เขา้ มาใชป้ ระกอบกนั ดว้ ย ดงั นนั้ ขอบเขตทง้ั หมดจงึ มคี วามสมั พนั ธ์
ในลักษณะที่เชื่อมโยงและสนับสนุนซ่ึงกันและกัน ในลักษณะของทฤษฎีและการปฏิบัติ

         * ปรับปรุงจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิศ ภู่ศิริ.
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27