Page 15 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
P. 15

การออกแบบซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ 7-5

เร่อื งท่ี 7.1.1
แนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ

       วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) เป็นกระบวนการที่ท�ำหน้าท่ีเป็นกรอบ
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยผู้พัฒนาสามารถเลือกใช้โมเดล (model) และเคร่ืองมือ (tool) ที่แตกต่างกัน มาใช้
ร่วมกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซ่ึงท�ำให้แนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความแตกต่างกันไป

1. 	แนวทางการพฒั นาซอฟต์แวร์

       แนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถจ�ำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
       1.1 แนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงโครงสร้างหรือเชิงกระบวนการ (structural methodology) เป็น
แนวทางแบบดั้งเดิม ซ่ึงเป็นแนวความคิดในการมองปัญหาในรูปของกระบวนการท�ำงาน จากน้ันให้แตกกระบวนการ
ท�ำงานดังกล่าวออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า ฟังก์ช่ันหรือโมดูล แล้วจึงน�ำฟังก์ชั่นต่าง ๆ มาเช่ือมโยงการท�ำงานเข้าด้วย
กันในภายหลัง ในฟังก์ช่ันการท�ำงานต่าง ๆ จะมีลักษณะการท�ำงานที่ข้ึนตรงต่อกัน และมีการส่งพารามิเตอร์จาก
ฟังก์ช่ันหน่ึงไปยังอีกฟังก์ชั่นหนึ่งได้ โดยจะเร่ิมต้นจากการก�ำหนดโครงสร้างและประเภทของข้อมูล จากน้ันจึงก�ำหนด
ฟังก์ช่ันการท�ำงานกับโครงสร้างข้อมูลดังกล่าว
       แนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงโครงสร้างน้ี จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ก�ำหนดได้ว่าซอฟต์แวร์ที่จะ
พัฒนาจะต้องด�ำเนินการอะไรบ้าง มีข้อมูลใดบ้างท่ีต้องจัดเก็บ มีอินพุต (input) และเอ้าต์พุต (output) ใด และต้อง
ดำ� เนนิ การอยา่ งไรใหซ้ อฟตแ์ วรโ์ ดยรวมสำ� เรจ็ ลงดว้ ยดี การพฒั นาในแนวทางนปี้ ระกอบดว้ ย การวเิ คราะหเ์ ชงิ โครงสรา้ ง
(structure analysis) การออกแบบเชิงโครงสร้าง (structure design) และการโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (structure
programming)
       ส�ำหรับข้ันตอนของการวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์ในแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงโครงสร้างนี้
มีการใช้แบบจ�ำลองในการวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์ ได้แก่

            1)	 แผนภาพเชิงบริบท (context diagram) คือ แผนภาพกระแสข้อมูลระดับบนสุดท่ีแสดงภาพรวม
การท�ำงานของระบบที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกระบบ ทั้งยังแสดงให้เห็นขอบเขตและเส้นแบ่งเขต
ของระบบท่ีศึกษาและพัฒนา ดังน้ัน อันดับแรกของการสร้างแบบจ�ำลองเพื่อแสดงขั้นตอนการท�ำงานของระบบ
นักวิเคราะห์ระบบควรจะท�ำการสร้างแผนภาพเชิงบริบทก่อน เน่ืองจากแผนภาพเชิงบริบทเป็นตัวก�ำหนดขอบเขต และ
เส้นแบ่งเขตของระบบที่ศึกษาและพัฒนา

            2)	 แผนภาพกระแสขอ้ มลู (Data Flow Diagram: DFD) คือ แผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางการไหล
ของข้อมูลท่ีมีอยู่ในระบบ และการด�ำเนินงานที่เกิดขึ้นในระบบ โดยข้อมูลในแผนภาพท�ำให้ทราบถึง ข้อมูลมาจากไหน
ข้อมูลไปท่ีไหน ข้อมูลเก็บท่ีใด และเกิดเหตุการณ์ใดกับข้อมูลในระหว่างทาง

            3)	แผนภาพเชิงสมั พันธ์ (Entity Relationship Diagram: E-R Diagram) เป็นการน�ำเสนอรายละเอียด
ต่าง ๆ เก่ียวกับโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่ออกแบบ จัดเป็นแบบจ�ำลองเชิงแนวคิด
(conceptual data model) ที่ใช้แสดงลักษณะโดยรวมของข้อมูลในระบบ โดยเป็นแผนภาพท่ีน�ำเสนอให้เห็นว่ามี
เอนทิตี (entity) อะไรบ้าง และแต่ละเอนทิตีมีความสัมพันธ์อย่างไร มีข้อมูลอะไรบ้างในแต่ละเอนทิตี และมีความ
สัมพันธ์ที่ต้องการจัดเก็บลงในฐานข้อมูลอย่างไร รวมถึงมีกฎความคงสภาพ (integrity constraint) หรือเง่ือนไขของ
ระบบ (business rule) อะไรบ้าง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20