Page 27 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
P. 27

การออกแบบซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ 7-17

3. 	ความสัมพันธ์และปฏิสมั พันธ์

       กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ 2 ตัวข้ึนไป เกิดมาจาก 2 อย่าง ได้แก่
       3.1		ความสมั พนั ธ์ (relationship) เป็นความเกี่ยวข้องกันหรือความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 ตัวขึ้นไป ตัวอย่าง
ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น ความเป็นแม่กับลูก สามีรักภรรยา น้�ำอยู่ในทะเล ปากกาอยู่บนโต๊ะท�ำงาน
เปน็ ตน้ ในการวิเคราะห์ความสมั พันธ์นั้นบางครงั้ อาจเปน็ ความสัมพันธท์ แี่ ฝงอยู่กับวตั ถุ ดังนัน้ ความสัมพนั ธ์ท่เี กิดขน้ึ
อาจจะขึ้นอยู่กับการตีความหมายของนักพัฒนาด้วย
       3.2 	ปฏิสมั พันธ์ (interaction) เป็นปฏิสัมพันธ์ หรือการกระท�ำใด ๆ ท่ีเกิดข้ึนระหว่างวัตถุ 2 ตัวขึ้นไป ซึ่ง
การมีปฏิสัมพันธ์น้ีเองที่ท�ำให้เกิดกิจกรรม (activity) ต่าง ๆ ในโลกน้ี เช่น การสร้าง การเปล่ียนแปลง การเล่น เป็นต้น
       เพอื่ ความเขา้ ใจและการแยกแยะระหวา่ งความสมั พนั ธแ์ ละปฏสิ มั พนั ธใ์ หด้ ขี นึ้ ขอยกตวั อยา่ งใหเ้ หน็ ชดั เจนขนึ้
ดังน้ี

       ตัวอย่างที่ 7.5 “คนรับประทานอาหาร”
            วัตถุ 	 คือ คน และ อาหาร
            ความสัมพันธ์ 	 คือ เป็นเจ้าของ
            ปฏิสัมพันธ์ 	 คือ รับประทาน

       จะพบว่าความสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้เป็นความสัมพันธ์แฝงที่เกิดจากการตีความ เน่ืองจากขอบเขตของปัญหา
ยังไม่ชัดเจน

       ตวั อยา่ งท่ี 7.6 “สุนัขเล่นกับแมว”
            วัตถุ 	 คือ สุนัข และ แมว
            ความสัมพันธ์ 	 คือ เป็นเพื่อน
            ปฏิสัมพันธ์ 	 คือ เล่น

       จะพบว่า ความสมั พนั ธท์ ่ีวิเคราะห์ได้เปน็ ความสัมพันธ์แฝงทเี่ กดิ จากการตีความ เนื่องจากขอบเขตของปัญหา
ยังไม่ชัดเจน

       ตัวอยา่ งท่ี 7.7 “นายสมชายเปิดตู้เสื้อผ้าแล้วหยิบเส้ือยืดมาใส่”
            วัตถุ 	 คือ นายสมชาย ตู้เส้ือผ้า เส้ือยืด
            ความสัมพันธ์ 	 คือ นายสมชายเป็นเจ้าของตู้เส้ือผ้า เส้ือยืดอยู่ในตู้เสื้อผ้า
            ปฏิสัมพันธ์ 	 คือ นายสมชายเปิดตู้เส้ือผ้า นายสมชายหยิบเส้ือยืด นายสมชายใส่เสื้อยืด

       จะพบว่า ความสัมพันธ์ท่ีวิเคราะห์ได้เกิดขึ้นหลายความสัมพันธ์ ซึ่งมีท้ังที่เป็นความสัมพันธ์แฝงท่ีเกิดจาก
การตีความและความสัมพันธ์ที่แสดงอยู่ในขอบเขตของปัญหาอย่างชัดเจน ส่วนปฏิสัมพันธ์ก็เกิดข้ึนหลายปฏิสัมพันธ์
เช่นเดียวกัน เน่ืองจากขอบเขตของปัญหามีรายละเอียดมากขึ้น

       ตัวอย่างท่ี 7.8 “นักคอมพิวเตอร์ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทไมโครซอฟท์”
            วัตถุ 	 คือ นักคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP บริษัทไมโครซอฟท์
            ความสัมพันธ์ 	 คือ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทไมโครซอฟท์
            ปฏิสัมพันธ์ 	 คือ นักคอมพิวเตอร์ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP

       จะพบว่า ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้แสดงอยู่ในขอบเขตของปัญหาอย่างชัดเจน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32