Page 44 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
P. 44

7-34 วิศวกรรมซอฟต์แวร์

                1)	ความสัมพันธ์แบบควบรวม (include relationship) ความสมั พนั ธแ์ บบน้ี ยสู เคสต้นทางจะมี
การเรียกยูสเคสปลายทางเข้ามาใช้งานเสมอ เม่ือมีการเกิดกิจกรรมหรือยูสเคสน้ัน ๆ ข้ึน ใช้สัญลักษณ์เส้นประ
และหัวลูกศร ก�ำกับด้วยข้อความประเภท Stereotype (<<include>>) ดังแสดงในภาพที่ 7.21

                        	 Use case A	 <<include>> Use case B

                         ภาพที่ 7.21 กรณยี สู เคส A มีการเรียกใชย้ สู เคส B มาทำ�งาน

                ตัวอย่างการใช้งาน <<include>> ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดการเน้ือหา (Content
Management System: CMS) ซ่ึงมีเง่ือนไขความต้องการของระบบคือ อนุญาตให้ผู้ดูแลระบบ (administrator)
ด�ำเนินการสร้างวิกิส�ำหรับบุคคลใหม่ได้ (create a new personal Wiki) และการสร้างบัญชีผู้ใช้งานใหม่ (create a
new blog account) ได้ โดยท่ีการสร้างนั้นจะต้องท�ำการตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของนักเขียน
(author credentials database) แล้วหรือไม่

                จากเงื่อนไขความต้องการของระบบ สามารถวิเคราะห์ผู้ใช้หรือแอคเตอร์ออกมาได้ 2 แอคเตอร์
คือ ผู้ดูและระบบ (administrator) ซ่ึงถือเป็นแอคเตอร์หลักท่ีเป็นผู้ด�ำเนินการยูสเคสน้ัน ๆ และฐานข้อมูลของ
นักเขียน (author credentials database) ซึ่งจัดเป็นแอคเตอร์รองที่มีความเก่ียวข้องกับยูสเคสนั้น ๆ และมียูสเคส
หลักอยู่ 2 ยูสเคส คือ ยูสเคสการสร้างวิกิส�ำหรับบุคคลใหม่ (create a new personal Wiki) และยูสเคสการสร้าง
บัญชีผู้ใช้งานใหม่ (create a new blog account)

                        Content Management System
                                 Create a

                            new Blog Account

Administrator           new PCerersaotneaal Wiki     Author
                                                   Credentials
                                                   Database

                         ภาพที่ 7.22 การวิเคราะหค์ วามต้องการดว้ ยแผนภาพยูสเคส

ท่มี า: 	Kim Hamilton and Russell Miles. Learning UML 2.0. Figure 2-11.

                จากภาพท่ี 7.22 เป็นแผนภาพยูสเคสท่ีได้จากการวิเคราะห์ความต้องการของระบบ CMS ซึ่งให้
ผู้ดูแลระบบ (administrator) เป็นผู้ด�ำเนินการสร้างวิกิส�ำหรับบุคคลใหม่ได้ (create a new personal Wiki) และ
การสร้างบัญชีผู้ใช้งานใหม่ (create a new blog Account) จึงท�ำให้มีกิจกรรมหรือยูสเคสหลัก 2 กิจกรรมน้ี

                แต่จากความต้องการของระบบ มีการก�ำหนดให้การสร้างบัญชีผู้ใช้หรือการสร้างวิกิส่วนบุคคล
ต้องมีอยู่ในฐานข้อมูลผู้เขียนเท่านั้น ดังนั้น จึงสามารถปรับปรุงยูสเคสการสร้างวิกิส�ำหรับบุคคลใหม่ (Create a new
Personal Wiki) และการสร้างบัญชีผู้ใช้งานใหม่ (Create a new Blog Account) ได้
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49