Page 43 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
P. 43
การออกแบบซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ 7-33
2.2 กิจกรรมหรือกรณี (business use case) จากข้ันตอนการระบุแอคเตอร์ท่ีเก่ียวข้องกับระบบ จะได้
ผู้เก่ียวข้องและจะต้องมีกิจกรรมหรือหน้าท่ีงานที่แอคเตอร์นั้น ๆ กระท�ำกับระบบ ซึ่งก็คือกิจกรรมหรือกรณีที่เกิดขึ้น
(use case) เรียกว่า ยูสเคส เป็นการระบุ การก�ำหนดหน้าที่งาน หรือกิจกรรมท่ีเกิดข้ึนในระบบงานหรือระบบใด ๆ
ท่ีก�ำลังให้ความสนใจ ซึ่งโดยท่ัวไปแล้วจะเป็นยูสเคสท่ีเกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้หรือแอคเตอร์ (actor) กับระบบ
แต่ก็สามารถเกิดข้ึนภายในระหว่างยูสเคสด้วยกันเองก็เป็นได้ ใช้สัญลักษณ์วงรีและระบุชื่อกิจกรรมหรือยูสเคส
เพื่อเป็นการระบุยูสเคสน้ัน ๆ ดังแสดงในภาพที่ 7.18
Use case
ภาพที่ 7.18 สัญลักษณ์แสดงกจิ กรรมหรอื กรณที เ่ี กิดขน้ึ หรือยสู เคส
เช่น ระบบงานธนาคาร มียูสเคสการเปิดบัญชีใหม่ (open new account) ซ่ึงเป็นกิจกรรมหน่ึงของระบบ
งานธนาคาร จะปรากฏให้เห็นเมื่อมีการวิเคราะห์ออกแบบระบบ ดังแสดงในภาพที่ 7.18
Open new account
Clerk
ภาพท่ี 7.19 ตัวอย่างยูสเคสเปดิ บญั ชใี หม่ (Open new account) ของระบบงานธนาคาร
2.3 เส้นเชื่อมโยงการสื่อสาร (communication line) เส้นเชื่อมโยงการส่ือสาร เป็นการแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ในแบบจ�ำลองกรณีหรือแผนภาพยูสเคส (use case diagram) ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง
แอคเตอร์และยูสเคส และความสัมพันธ์ระหว่างยูสเคส
2.3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างแอคเตอร์และยูสเคส (association) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
แอคเตอร์และยูสเคส เพื่อแสดงให้เห็นการใช้งานฟังก์ช่ันหรือยูสเคสนั้น ๆ โดยเป็นการแสดงความสัมพันธ์พื้นฐาน
ใช้สัญลักษณ์เป็นเส้นตรงไม่มีหัวลูกศร ดังแสดงในภาพท่ี 7.20
ภาพท่ี 7.20 สญั ลักษณแ์ ทนความสัมพันธร์ ะหวา่ งแอคเตอรแ์ ละยสู เคส
2.3.2 ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งยสู เคส (use case relationship) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างยูสเคส
ภายในแผนภาพ โดยสามารถระบุความสัมพันธ์ได้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบ เพื่อให้ได้
รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงมากย่ิงข้ึน ที่ผ่านมาได้เห็นตัวอย่างยูสเคสโดยทั่วไป ซึ่งเป็นยูสเคสที่เกิดจากแอคเตอร์
แต่ความสัมพันธ์ระหว่างยูสเคสกับยูสเคสจะช่วยแยกระบบงานให้เล็กลง ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการระบบได้ดีข้ึน
โดยสามารถก�ำหนดความสัมพันธ์ระหว่างยูสเคสที่เกิดข้ึนภายในได้ดังนี้