Page 78 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 78
4-68 ประวตั ิศาสตรไ์ ทย
สรุป
อาณาจกั รอยธุ ยาซ่งึ ก่อตัง้ ขน้ึ ใน พ.ศ. 1893 เป็นศนู ย์กลางของคนไทยอยูน่ านถงึ 417 ปี จงึ ได้
ล่มสลายไปเน่ืองจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 เมื่อพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ เท่าท่ีได้
คน้ พบ กลา่ วไดว้ า่ ความเสอ่ื มสลายของอาณาจกั รอยธุ ยาเกดิ จากเหตุปัจจัยทงั้ ภายในและภายนอก
ปัจจัยภายในที่ส�ำคัญ คอื การแยง่ ชงิ อำ� นาจทางการเมอื งในหมชู่ นชนั้ ปกครอง ซง่ึ เกดิ ขน้ึ อยบู่ อ่ ย
ครง้ั ตง้ั แตห่ ลงั สมยั สมเดจ็ พระเจา้ ปราสาททองเปน็ ตน้ มาถงึ สน้ิ สมยั อยธุ ยาใน พ.ศ. 2310 การแยง่ ชงิ อำ� นาจ
ทางการเมืองดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลสืบเน่ืองต่อระบบไพร่ กล่าวคือ ท�ำให้เกิดการสูญเสียก�ำลังไพร่พล
จำ� นวนมากทีอ่ ย่ใู นวยั ฉกรรจ์ รวมทงั้ ทำ� ให้เกิดความยุ่งเหยิงเร่อื งบัญชีไพร่พลด้วย ความระสาํ่ ระสายของ
ระบบไพรซ่ ึ่งเป็นพืน้ ฐานส�ำคญั ของอาณาจักรอยุธยาท้งั ด้านการเมอื ง เศรษฐกิจ และสังคม จึงเป็นสาเหตุ
ส�ำคญั อกี ประการหนงึ่ ทท่ี ำ� ใหอ้ าณาจักรอยุธยาตอ้ งล่มสลายไป
ปัจจยั ภายในท้งั สองประการดงั กลา่ วข้างตน้ เมื่อผสานกับปัจจัยภายนอก คือ สงครามไทย–พมา่
ทอี่ ุบตั ิขนึ้ ต้ังแต่เดอื น 7 ปีระกา พ.ศ. 2308 มาจนถึงเดือน 5 ปกี ุน พ.ศ. 2310 จึงเรง่ ใหอ้ าณาจกั รอยุธยา
ซ่ึงก�ำลังเส่ือมโทรมอันเน่ืองมาจากปัญหาการแย่งชิงอ�ำนาจทางการเมืองและความระส่ําระสายของระบบ
ไพร่ลม่ สลายไปเรว็ ยิง่ ขน้ึ
หลงั การเสยี กรงุ ศนู ยก์ ลางของอาณาจกั รไดย้ า้ ยมาอยทู่ ธี่ นบรุ แี ละกรงุ เทพฯตามลำ� ดบั อาณาจกั ร
ไทยทัง้ สองแหง่ นไ้ี ดย้ ึดแบบแผนของอยธุ ยาทงั้ ดา้ นการเมือง เศรษฐกิจ และสงั คมในการสรา้ งสรรค์ความ
เจริญ เช่น การจัดรูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์ การควบคุมก�ำลังคนในระบบไพร่ การผูกขาดทาง
การคา้ ภายใตร้ ะบบพระคลงั สนิ คา้ และการจดั โครงสรา้ งสงั คมในระบบศกั ดนิ า เปน็ ตน้ นอกจากนน้ั พระบาท
สมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชยงั ทรงมพี ระราโชบายทจี่ ะสรา้ งกรงุ เทพฯ ศนู ยก์ ลางแหง่ ใหมข่ อง
ราชอาณาจักรให้งดงามเหมือนดั่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองมหานาคเพ่ือใช้เล่นสักวาใน
หน้านํ้าเลยี นแบบคลองมหานาคที่กรุงศรีอยุธยา สรา้ งวัดพระศรรี ัตนศาสดารามข้นึ ในพระบรมมหาราชวัง
ตามแบบอยา่ งการสรา้ งวดั พระศรสี รรเพชญใ์ นสมยั อยธุ ยา รวมทง้ั ใหร้ อื้ ฟน้ื ราชประเพณตี า่ งๆ อกี มากมาย
หลายประการมาปฏบิ ัติกนั ใหม่
พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั และพระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดท้ รงพยายาม
สานต่อพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จฬุ าโลก แต่กไ็ มส่ ามารถธำ� รงความเป็นอยธุ ยา
ไว้ได้ เพราะการท่ีจะไปหยุดยั้งความเปล่ียนแปลงต่างๆ หรือหมุนประวัติศาสตร์ให้กลับไปอยู่ ณ ที่เดิม
ย่อมเปน็ ไปไม่ได้ ดว้ ยเหตนุ ี้ สังคมไทยในสมยั รตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ แมจ้ ะลอกเลียนแบบอย่างตา่ งๆ จาก
สมยั อยธุ ยา แตล่ ักษณะทางการเมอื งการปกครอง เศรษฐกจิ และสังคมไดเ้ ปลยี่ นแปลงไปจากแบบอย่าง
ในสมัยอยุธยาหลายประการ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตามสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
อาณาจกั รรตั นโกสนิ ทร์ท่ไี ด้เปลยี่ นแปลงไปจากเดมิ ช่วงระยะเวลา 84 ปีของสมัยธนบุรแี ละรัตนโกสนิ ทร์
ตอนตน้ (พ.ศ. 2310–2394) จงึ เปน็ ทงั้ ชว่ งแหง่ ความตอ่ เนอื่ งจากสมยั อยธุ ยาและชว่ งแหง่ การเปลยี่ นแปลง
เพ่อื เปน็ พ้นื ฐานการปรับตัวเขา้ สู่สมัยใหม่
ในที่สดุ สงั คมรัตนโกสนิ ทรก์ ต็ อ้ งเปิดรับอารยธรรมตะวันตกในสมยั รชั กาลท่ี 4 และพฒั นารูปแบบ
ของสงั คมไทยออกมาในอกี ลกั ษณะหนง่ึ แตม่ รดกอยธุ ยาทง้ั ดา้ นการเมอื ง เศรษฐกจิ และสงั คมกไ็ ดท้ งิ้ รอ่ งรอย
และอทิ ธพิ ลแก่สังคมรตั นโกสนิ ทร์ไมน่ อ้ ยเลย