Page 76 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 76
4-66 ประวตั ิศาสตร์ไทย
เร่ืองที่ 4.4.3
มรดกอยุธยา
อยธุ ยายศยง่ิ ฟา้ ลงดิน แล
อำ� นาจบญุ เพรงพระ ก่อเกอื้
เจดยี ์ลอออินทร ์ ปราสาท
ในทาบทองแลว้ เน้ือ นอกโสม
(จาก กำ� สรวลโคลงด้นั วรรณคดีสมัยอยธุ ยาตอนตน้ )
โคลงไพเราะบทนแี้ ปลความไดว้ า่ กรงุ ศรอี ยธุ ยางามลาํ้ เลอื่ งลอื ยง่ิ ดง่ั เมอื งฟา้ ลอยมา ณ พน้ื แผน่ ดนิ
หรืออย่างไร ทั้งนี้ด้วยการก่อเก้ือของพระราชอ�ำนาจที่ทรงส่ังสมจากบุญแต่ปางก่อน พระเจดีย์งดงาม
ดั่งปราสาทของพระอินทร์ ภายในปิดทองงามอรา่ ม ภายนอกกแ็ ล้วไปด้วยทองเชน่ กัน
กรงุ ศรอี ยธุ ยา ราชธานขี องอาณาจกั รอยธุ ยาเปน็ เมอื งสำ� คญั เมอื งหนงึ่ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้
สมัยจารีต ได้รับการกล่าวขวัญถึงในข้อเขียนหรือบันทึกของชาวต่างชาติหลายชาติหลายภาษาท่ีเดินทาง
มาตดิ ต่อกับภมู ภิ าคน้ดี ้วยกจิ กรรมหลากหลาย กรงุ ศรีอยุธยาเป็นเมอื งทม่ี ีพลวตั ยิ่ง มีบทบาททัง้ การเป็น
เมอื งทา่ คา้ ขาย เมอื งศนู ยก์ ลางทางการเมอื งการปกครอง และวฒั นธรรม อาณาจกั รอยธุ ยาไดด้ ำ� รงอยนู่ าน
417 ปี และพัฒนาเปล่ียนแปลงตามสภาพการณ์แวดล้อมระหว่างปลายพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึงต้น
พุทธศตวรรษที่ 24 (พ.ศ. 1893–2310) ในประวตั ิศาสตรไ์ ทยสมัยจารีต
อยุธยาได้สบื ทอดมรดกวฒั นธรรมทงั้ ด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสงั คม จากแวน่ แควน้ ไทย
หลายแคว้นแถบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาตอนล่าง เช่น แคว้นละโว้ แคว้นสุพรรณภูมิ และที่ได้รับจากแคว้น
สโุ ขทัย มาสรา้ งสรรคใ์ หแ้ ตกแขนงออกไปอีกมากมาย
มรดกวฒั นธรรมดา้ น การเมอื งการปกครอง ทอี่ ยธุ ยาสรา้ งสรรคข์ นึ้ มอี าทิ สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์
แบบเทวราชา การปกครองแบบจตุสดมภ์ การปกครองหัวเมืองท่ีแบ่งเป็นช้ันต่างๆ การกระชับอ�ำนาจ
ทางการเมอื งการปกครอง การควบคมุ กำ� ลงั คนภายใตร้ ะบบไพร่ การวางรากฐานระบบขนุ นางศกั ดนิ า และ
การจัดระบบกฎหมายซง่ึ เปน็ รากฐานของกฎหมายตราสามดวงในสมยั รตั นโกสินทร์
ส่วนทางด้าน เศรษฐกิจ น้ัน ได้แก่ การผูกขาดทางการค้าภายใต้ระบบพระคลังสินค้า การจัด
ระบบภาษอี ากร การจดั ระบบบคุ ลากรในการตดิ ตอ่ คา้ ขายกบั ตา่ งประเทศ และการดำ� เนนิ การคา้ สำ� เภากบั
บา้ นเมอื งตา่ งๆ ทง้ั ทางฝง่ั ซา้ ยและฝง่ั ขวาของคงุ้ ทะเลไทย จงึ มกี รมทา่ ซา้ ยและกรมทา่ ขวาในองคก์ รทดี่ แู ล
การคา้ ส�ำเภาของหลวง
ส่วนทางด้าน สังคม นั้นมีตั้งแต่การจัดโครงสร้างสังคมภายใต้ระบบศักดินา ความสัมพันธ์แบบ
อุปถัมภ์ พุทธศาสนา ความเชอ่ื ประเพณี ศิลปะ การละเลน่ ภาษา วรรณคดี และวทิ ยาการต่างๆ