Page 72 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 72

4-62 ประวัติศาสตรไ์ ทย
       มูลนายระดับสูงได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้ด�ำรงต�ำแหน่งราชการในกรมกองต่างๆ

และมสี ทิ ธพิ เิ ศษหลายประการ เชน่ มสี ทิ ธเิ ขา้ เฝา้ ในเวลาทพี่ ระมหากษตั รยิ เ์ สดจ็ ออกขนุ นาง ไดร้ บั อนญุ าต
ให้แต่งตั้งทนายไปขึ้นศาลในคดีความต่างๆ แทนตนได้ มีสิทธิที่จะใช้เคร่ืองยศที่ได้รับพระราชทานจาก
พระมหากษัตริย์ตามศักดินาของตน และบุตรของมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกลงทะเบียน
เปน็ ไพร่ ฯลฯ

       สว่ นมลู นายระดบั ลา่ ง ไดร้ บั การแตง่ ตงั้ จากมลู นายระดบั สงู โดยมลู นายระดบั สงู จะตอ้ งกราบบงั คม
ทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงทราบ มูลนายระดับล่างจึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหน่ึง
อยา่ งไรกต็ ามพระมหากษตั รยิ ย์ งั ทรงไวซ้ ง่ึ พระราชอำ� นาจทจ่ี ะเลอ่ื นตำ� แหนง่ ลดตำ� แหนง่ และลงโทษมลู นาย
ระดับล่างเหล่าน้ีได้ สิทธิพิเศษของมูลนายพวกน้ีมีเพียงไม่ต้องเป็นไพร่ และเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ได้
ครอบคลุมไปถึงบุตร แต่การมีบิดาเป็นขุนนางแม้เพียงมูลนายระดับล่าง บุตรย่อมมีโอกาสเข้ารับราชการ
ได้ง่ายข้ึน มูลนายระดับล่างมีโอกาสเล่ือนขึ้นเป็นมูลนายระดับสูงได้ ถ้ามีความดีความชอบ โดยเฉพาะ
อย่างยง่ิ ในราชการสงคราม32

       ในด้านความสัมพันธ์ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะมูลนายสูงสุด ผู้ควบคุมความสัมพันธ์แบบ
อปุ ถัมภ์ท้งั ปวงในสงั คม ทรงไวซ้ ่ึงพระราชอ�ำนาจอนั สมบูรณ์ในการปกครอง ให้ความช่วยเหลือและความ
คมุ้ ครองแก่เจา้ นาย ขนุ นาง ไพร่ และทาส พระองคพ์ ระราชทานความอปุ ถัมภแ์ ก่เจา้ นายและขุนนางด้วย
การพระราชทานตำ� แหนง่ ยศฐาบรรดาศกั ดิ์ และศักดนิ า แก่พวกเจา้ นายและขุนนาง ทรงเลอ่ื นยศ เล่อื น
ตำ� แหนง่ และเพ่ิมศกั ดินาแกเ่ จา้ นาย–ขุนนาง ผกู้ ระท�ำความดคี วามชอบ ในขณะเดียวกนั ก็ทรงลดขน้ั ลด
ศกั ดินาของเจา้ นาย–ขุนนางผกู้ ระทำ� ความผดิ ด้วยเหตุนี้ พวกเจ้านายและขุนนางจงึ ต้องมุง่ ความสนใจไป
อยู่ทีอ่ งค์พระมหากษตั รยิ ์ ผ้ทู รงเปน็ มลู นายสงู สดุ และเปน็ เจา้ ชีวิตทีจ่ ะกำ� หนดอนาคตของพวกตน

       สว่ นความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมลู นายกบั ไพรน่ นั้ มลี กั ษณะเปน็ ความสมั พนั ธแ์ บบอปุ ถมั ภด์ งั ทไ่ี ดก้ ลา่ ว
มาแล้วในเรื่องท่ี 4.2.3 นอกจากน้ันมูลนายระดับสูงและมูลนายระดับล่างก็มีความสัมพันธ์กันบนฐานของ
การอปุ ถมั ภ์คา้ํ ชู การเคารพเชื่อฟงั และความนอบน้อม มลู นายระดบั สูงในฐานะผู้บงั คบั บัญชาจะให้ความ
ช่วยเหลือความคุ้มครองแก่มูลนายระดับล่าง ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ออกค�ำสั่งตามระเบียบประเพณีและ
กฎหมายใหผ้ อู้ ยใู่ ตบ้ งั คบั บญั ชาปฏบิ ตั ติ าม สว่ นมลู นายระดบั ลา่ งมหี นา้ ทตี่ อ้ งเคารพเชอ่ื ฟงั ปฏบิ ตั ติ ามคำ� สงั่
ไม่โตเ้ ถยี ง มคี วามนอบน้อม และไม่ใหค้ �ำแนะนำ� ใดๆ โดยทผี่ บู้ งั คับบญั ชามิได้รอ้ งขอ

       กลา่ วโดยสรปุ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งชนชน้ั ในสงั คมอยธุ ยามลี กั ษณะเปน็ ความสมั พนั ธแ์ บบอปุ ถมั ภ์
นบั ตงั้ แตค่ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมลู นายและไพร่ มลู นายระดบั สงู และมลู นายระดบั ลา่ ง ไปจนถงึ พระมหากษตั รยิ ์
และมูลนาย อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างมูลนายระดับสูงและมูลนายระดับล่างอาจจัดเข้าอยู่ใน
กล่มุ ความสมั พนั ธ์ระหวา่ งมลู นายและไพรไ่ ด้ เพราะขนุ นางผใู้ หญส่ ามารถแตง่ ตงั้ ไพรใ่ นสังกดั ของตนเป็น
ขุนหมื่นถือศักดินาต่ํากว่า 400 ได้ ดังน้ัน ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ระหว่างชนชั้นในสังคมอยุธยาจึง

         32 อัญชลี สุสายัณห์. (2524). ความเปล่ียนแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ-
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั . น. 55-64.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77