Page 62 - ความเป็นครู
P. 62

14-52 ความเป็นครู

2. 	การพฒั นาหลักการพจิ ารณาความผดิ

       การพิจารณาความผิดของครูควรใช้หลักการ 2 ด้านประกอบกัน คือ
       2.1	 หลกั นติ ธิ รรม ได้แก่ การพิจารณาโดยยึดกฎหมายเป็นหลัก การกระท�ำใดท่ีจะเป็นการผิดวินัย
ต้องมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระท�ำน้ันเป็นความผิด ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าความผิดนั้นเป็นความผิด
ทางวินัยก็ไม่สามารถลงโทษได้
       2.2	 หลกั มโนธรรม ได้แก่ การพิจารณาให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมตามความเป็นจริงและตาม
เหตุผลท่ีควรจะเป็น โดยมิได้ค�ำนึงถึงเฉพาะความถูกผิดตามกฎหมาย
       อนึ่ง ในการพิจารณาก�ำหนดโทษนั้นนอกจากจะใช้หลักการ 2 ด้านข้างต้นแล้ว ยังต้องเพ่ิมหลักการ
ด้านอ่ืนเป็น 4 ด้าน คือ หลักนิติธรรม หลักมโนธรรม หลักความเป็นธรรม และนโยบายของทางราชการด้วย
จึงจะท�ำให้มีการพิจารณาก�ำหนดโทษท่ีเหมาะสม คือไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป
       อนึ่ง แม้ว่าวินัยจะเกิดขึ้นได้เพราะแรงจูงใจและแรงบังคับ แต่วินัยท่ีเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ
จะจริงจังและยงั่ ยืนกว่าวินัยทเ่ี กดิ ขึ้นโดยถูกบงั คับ เพราะวนิ ัยของครคู นหนึง่ ไม่มลี ักษณะคงท่ีตลอดเวลา แต่
อ่อนไหว เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ต่าง ๆ การพัฒนาวินัยโดยการส่งเสริมรากฐานคุณธรรมจริยธรรม
ของบคุ คลจงึ เปน็ การสรา้ งสงิ่ เหนย่ี วรง้ั ตนเองกอ่ นทจ่ี ะผดิ พลาดและเผชญิ กบั การด�ำเนนิ การทางจรรยาบรรณ
และวินัย ในการประกอบวิชาชีพ การเป็นครูท่ีดีเพราะมีคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นความดีข้ันสูงสุดของครู
การเปน็ ครูดเี พราะมีจรรยาบรรณเป็นกรอบควบคมุ พฤตกิ รรมเปน็ ความดีทีร่ องลงมา และการเปน็ ครูดเี พราะ
เกรงกลัวต่อวินัยจึงเป็นความดีข้ันสุดท้ายในด้านนี้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ท่ีก�ำหนดให้การท�ำดีเพราะกลัวการลงโทษเป็นพัฒนาการทางจริยธรรมขั้นตํ่า การท�ำดีเพราะเป็นกฎเกณฑ์
สังคมเป็นความดีข้ันกลาง และการท�ำดีเพราะเป็นหลักการทางจริยธรรมเป็นความดีข้ันสูงสุด

              หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระตอนท่ี 14.3 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 14.3
                          ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 14 ตอนที่ 14.3
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66