Page 71 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 71

แนวคิดเก่ียวกับส่ือและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-61

เม่ือเราน�ำอุปกรณ์ท่ีมีความสามารถในการสื่อสารแบบไร้สาย เช่น โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ เราก็สามารถ
ที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องท�ำการเชื่อมต่อสายใด ๆ ให้ยุ่งยาก

            • 	Bluetooth เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันแบบไร้สายด้วยคล่ืนวิทยุความถ่ี 2.4 GHz
ซ่ึงมีรัศมีการเชื่อมต่อส้ัน ๆ ประมาณ 30 ฟุต จุดประสงค์ก็เพ่ือท่ีจะน�ำมาใช้แทนสายสัญญาณที่ต่อเชื่อมอยู่
ระหวา่ งอปุ กรณต์ า่ ง ๆ เชน่ โทรศพั ทเ์ คลอื่ นทก่ี บั PDA โทรศพั ทเ์ คลอ่ื นทกี่ บั small talk โนต๊ บคุ๊ คอมพวิ เตอร์
กับเครื่องพิมพ์ ต่อเชื่อมโน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์สองตัวเข้าด้วยกัน หรือการต่ออุปกรณ์เมาส์ไร้สายเข้ากับ
คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เครือข่ายท่ีเกิดจากการเช่ือมต่อด้วยเทคโนโลยี Bluetooth น้ีบางคร้ังเรียกว่าเครือข่าย
ส่วนบุคคล (Personal Area Network: PAN) เน่ืองจากเป็นการใช้เพ่ือเช่ือมต่ออุปกรณ์ท่ีใช้งานส่วนตัว
ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

       1.2 	เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ต่อเชื่อม
คอมพิวเตอร์จ�ำนวนมากเข้าด้วยกัน และเน่ืองจากเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่าง
เมือง หรือระหว่างประเทศ การต่อเช่ือมเครือข่ายจึงต้องอาศัยเครือข่ายของระบบโทรคมนาคมเข้ามาใช้ เช่น
ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์เครือข่ายและโปรแกรมการส่ือสารเข้ามาใช้ในการจัดท�ำ
เครือข่ายด้วย เครือข่ายประเภทน้ีบางคร้ังยังแบ่งย่อยลงไปอีกเรียกว่าเครือข่ายมหานคร (Metropolitant
Area Network: MAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ท่ีครอบคลุมพื้นท่ีของเมืองหรือประเทศ แต่เน่ืองจาก
เครือข่ายมีการเช่ือมต่อกันอยู่มากมาย การที่จะก�ำหนดขอบเขตของแต่ละเครือข่ายจึงค่อนข้างจะยาก ดังน้ัน
เมื่อพูดถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ก็มักจะหมายรวมไปหมดว่าเป็นเครือข่ายแวน

       1.3 	เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ท่ีสุด เรียกได้ว่าเป็น
เครือข่ายของเครือข่าย คือเป็นเครือข่ายที่เช่ือมโยงเครือข่าย WAN เข้าด้วยกัน ในปี 2559 ประมาณว่ามี
อุปกรณ์เช่ือมต่ออยู่กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถึง 22.9 พันล้านอุปกรณ์4 และเพิ่มข้ึนทุก ๆ ปี จึงนับได้ว่า
อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารท่ีใหญ่ท่ีสุดของโลก และสามารถเข้าถึงตัวผู้รับสารได้มากท่ีสุด

2. 	รูปแบบการตอ่ เช่ือมเครอื ข่าย (Network Topologies)

       ในการต่อเช่ือมคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจ�ำกัดท่ีต่างกัน
รูปแบบของการต่อเช่ือมเครือข่ายเหล่านี้ เราเรียกว่า Network topologies การต่อเช่ือมคอมพิวเตอร์เป็น
เครือข่าย แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1) แบบบัส (Bus topology) 2) แบบวงแหวน (Ring topol-
ogy) และ 3) แบบดาว (Star topology)

       2.1 	แบบบัส (Bus topology)
       การต่อแบบนี้เป็นการต่อโดยมีสายสัญญาณหลัก (Bus หรือบางทีเรียกว่า Backbone) เป็นแกน
กลาง แล้วน�ำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาต่อเข้ากับสายหลัก การต่อเครือข่ายแบบน้ีที่ปลายท้ังสอง
ข้างของสายน�ำสัญญาณ (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกและเคร่ืองสุดท้าย) จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า
เทอมิเนเตอร์ (terminator) มาต่อไว้เพ่ือลดการสะท้อนกลับของสัญญาณท่ีวิ่งไปยังปลายสายไม่ให้กลับมา

         4 Statista (https://www.statista.com/statistics/471264/iot-number-of-connected-devices-worldwide/)
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76