Page 73 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 73
แนวคิดเก่ียวกับสื่อและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-63
2.3 แบบดาว (Star topology)
เครือข่ายแบบน้ีเป็นการต่อเครือข่ายขนาดใหญ่ท่ีใช้ในองค์กร โดยท่ีแต่ละหน่วยงานจะมีจุด
ศูนย์กลางท่ีมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณหรือฮับ (Hub) ท่ีเป็นอุปกรณ์ส�ำหรับเช่ือมโยงสัญญาณของอุปกรณ์
เครือข่ายเข้าด้วยกัน เพ่ือที่จะท�ำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องรู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้ ส่วนฮับแต่ละตัว
ก็จะต่อเชื่อมเข้าด้วยกันโดยสายสัญญาณหลัก (backbone) อีกทีหนึ่ง ข้อดีของการต่อเครือข่ายแบบนี้ก็คือ
ติดตั้งและเดินสายได้ง่าย สามารถหาจุดที่เสียและถอดอุปกรณ์ได้โดยไม่กระทบกับการใช้งานของอุปกรณ์
อื่น ๆ ในเครือข่าย แต่ข้อจ�ำกัดก็คือถ้าฮับช�ำรุดอุปกรณ์ท้ังหมดท่ีต่อเช่ือมอยู่กับฮับตัวนั้นก็จะไม่สามารถ
ใช้งานเครือข่ายได้ ปัจจุบันฮับถูกแทนท่ีด้วยสวิตช์ (Switch) ซ่ึงเป็นอุปกรณ์เช่ือมโยงสัญญาณที่มีคุณสมบัติ
และประสทิ ธภิ าพทส่ี งู กวา่ และใชเ้ ปน็ อปุ กรณม์ าตรฐานในการเชอ่ื มโยงสญั ญาณในระบบเครอื ขา่ ยขององคก์ ร
ภาพที่ 1.28 เครือขา่ ยแบบดาว (Star topology)
นอกจากการต่อเช่ือมเครือข่ายทั้งสามรูปแบบนี้แล้ว ก็ยังมีการประยุกต์รูปแบบต่าง ๆ มาเป็นการ
ต่อเชื่อมในรูปแบบอ่ืน ๆ อีก เช่น แบบเมช (Mesh topology) แบบต้นไม้ (Tree topology) หรือแบบผสม
(Hybrid topology) เป็นต้น ซ่ึงรูปแบบการต่อเชื่อมเครือข่ายแต่ละแบบก็มีความเหมาะสมในการใช้งาน
แตกต่างกันไป การน�ำไปใช้จึงมีความจ�ำเป็นที่เราจะต้องท�ำการศึกษาลักษณะการต่อเช่ือม คุณสมบัติ ข้อดี
และข้อจ�ำกัดของรูปแบบการต่อเช่ือมเครือข่ายแต่ละแบบให้ละเอียด เพ่ือน�ำไปใช้ในการพิจารณาออกแบบ
เครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน
หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 1.4.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 1.4.1
ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 1 ตอนท่ี 1.4 เรื่องที่ 1.4.1