Page 14 - นโยบายสาธารณะในบริบทโลก
P. 14
14-4 นโยบายสาธารณะในบริบทโลก
ตอนที่ 14.1
นโยบายสาธารณะด้านอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทโลก
โปรดอ่านหัวเรือ่ ง แนวคดิ และวัตถุประสงคข์ องตอนท่ี 14.1 แลว้ จึงศกึ ษารายละเอยี ดตอ่ ไป
หัวเร่ือง
14.1.1 เครื่องมอื และกลไกการแก้ปญั หา “อาชญากรรมข้ามชาต”ิ ในระดับสากล
14.1.2 เครื่องมือและกลไกการแก้ปญั หา “อาชญากรรมขา้ มชาติ” ในระดบั ภูมภิ าค
14.1.3 แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมขา้ มชาติในบรบิ ทโลก
14.1.4 การป้องกนั และปราบปราม “อาชญากรรมข้ามชาติ” ของประเทศไทย
แนวคิด
1. อาชญากรรมข้ามชาติเป็นการกระท�ำผิดที่เกี่ยวข้องกับประเทศอย่างน้อยสองประเทศ
ทม่ี คี วามผดิ กฎหมายอาญาและการกำ� หนดโทษไว้ ในระดบั สากล องคก์ ารสหประชาชาติ
มีเคร่ืองมือในการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ประกอบไปด้วย อนุสัญญา
สหประชาชาติเพ่ือต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ค.ศ. 2000 และพิธีสารเพื่อป้องกัน
ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก พิธีสารเพ่ือต่อต้าน
การลักลอบขนผู้โยกย้ายถ่ินฐานทางบก ทางทะแล และทางอากาศ และพิธีสารเพ่ือ
ตอ่ ตา้ นการลกั ลอบและคา้ อาวุธโดยผดิ กฎหมาย
2. ในระดับภูมิภาค เคร่ืองมือและกลไกการแก้ไขอาชญากรรมข้ามชาติ ประกอบไปด้วย
อนุสัญญาและบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศและการ
ประชมุ ระหวา่ งหนว่ ยงานระหวา่ งประเทศในการแสวงหาความรว่ มมอื อาทิ สนธสิ ญั ญา
อาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย สนธิสัญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือ
ระหวา่ งประเทศในเรอื่ งอาญา เป็นต้น
3. การจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติในบริบทโลก ประกอบไปด้วยแนวคิดส�ำคัญคือ
การแสวงหาความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศ การชว่ ยเหลอื ทางอาญาระหวา่ งประเทศ และ
การสรา้ งเครือข่ายเชิงนโยบายด้านกระบวนการยตุ ธิ รรมทางอาญา
4. เนื่องจากอาชญากรรมข้ามชาติมีความสลับซับซ้อน การป้องกันและปราบปราม
อาชญากรรมข้ามชาติของประเทศไทย จึงจ�ำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะเพ่ือต่อต้าน
อาชญากรรมขา้ มชาติ ตอ้ งมกี ารพฒั นากฎหมายใหท้ นั กบั องคก์ รอาชญากรรมขา้ มชาติ
และการเสรมิ สรา้ งความมนั่ คงทางเทคโนโลยสี ารสนเทศและไซเบอร์ รวมถงึ การประสาน
ความรว่ มมอื ระหว่างประเทศ