Page 59 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 59
ประตมิ ากรรม 12-49
กจิ กรรม 12.1.2
จงอธิบายลักษณะของประติมากรรมรูปมนุษยใ์ นศิลปะแบบนครวดั
แนวตอบกจิ กรรม 12.1.2
สาหรับประติมากรรมรูปมนุษย์ในศาสนาพราหมณ์สมัยน้ีถูกสร้างให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอีก ใบหน้า
ของบุรุษไม่มีเครา และหนวด ผ้านุ่งประกอบด้วยชายยาวรูปคล้ายสมอเรือซ้อนกันอยู่ข้างหน้า 2 ชั้น
ชายผ้าช้ันล่าง ยาวลงมาอยู่ในระดับเดียวกับขอบผ้านุ่งบนขา ชายกระเบนด้านหลัง ชักห้อยลงมาทับ
เขม็ ขัด ในชน้ั ต้นขอบผา้ พับยอ้ นออกมาด้านหนา้ ท้องยงั คงอยู่ แต่ตอ่ มาก็จะหายไป ในช่วงปลายของศิลปะ
นครวัด ชายผ้ารูปคล้ายสมอเรือท้ังสองช้ันข้างหน้าสั้นลง ท่ีชายกระเบนข้างหลังมีชายผ้ารูปสมอเรือ
ประกบอีก 1 ชั้น บางครั้งชายพกท่ีปรากฏในศิลปะสมัยนี้ก็พาดผ่านตั้งแต่ต้นขาด้านขวาลงมาจนถึง
ส่วนล่างของต้นขาด้านซ้าย ส่วนเคร่ืองแต่งกายของสตรีเป็นผ้านุ่งจีบ มีขอบผ้าสี่เหล่ียมพับย้อนออกมา
ทางหน้าท้อง ชายผ้ารูป “หางปลา” ดูคล้ายกับว่าเอามาต่อเติมเข้า และในส่วนของประติมากรรมรูป
มนุษย์ในศาสนาพุทธ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปมักจะทาเป็นพระพุทธรปู ปางนาคปรก เครื่องอาภรณ์
มักประกอบด้วยกะบังหน้า มงกุฎรูปกรวยประดับอยู่เหนือเกศาถัก ประดับด้วยขมวดเกศาขนาดเล็กๆ
อย่างมีระเบียบ เคร่ืองประดับเช่นสร้อยคอ กาไลมือและเท้า ตุ้มหูน้ัน ปรากฏอยู่เป็นครั้งคราว อาภรณ์
สว่ นใหญข่ องพระพุทธรูปกเ็ ปน็ แบบเดยี วกนั กบั ประตมิ ากรรมรูปมนุษย์ในศาสนาพราหมณ์