Page 15 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 15
ประวตั ิศาสตร์ 2-5
เร่ืองท่ี 2.1.1
สมัยก่อนประวตั ศิ าสตร์
1. มนุษย์และชุมชนแรกเริ่ม
หลักฐานจากการสารวจและขุดค้นทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ล่าสุดท่ีลอางสเปียนซง่ึ เปน็
ถ้า ในเทือกเขาหินปนู ในจังหวัดพระตะบองทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา1 แสดงให้เหน็ ว่ามีมนุษย์
อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่เมื่อราว 71,000 ปีมาแล้ว (Zeitoun et al., 2012; Heng Sophady
et al., 2016) นับเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ท่ีเก่าแก่ท่ีสุดเท่าท่ีเคยพบในกัมพูชา2 ร่องรอยการอยู่
อาศัยของมนุษย์ที่ลอางสเปียนกลุ่มน้ียุติลงในราว 26,000 ปีมาแล้ว กระทั่งเม่ือราว 11,000 ปีมาแล้ว
มนุษย์อีกกลุ่มหน่ึงก็เข้ามาต้ังถ่ินฐานที่ลอางสเปียน มนุษย์กลุ่มใหม่น้ีเป็นมนุษย์ในวัฒนธรรมหัวบิเนียน
(Hoabinhian culture)3
มนษุ ยใ์ นวัฒนธรรมหัวบเิ นียนที่ลอางสเปยี นมวี ิถกี ารดารงชีวิตแบบเกบ็ ของป่าลา่ สัตว์ (hunting-
gathering way of life) (Heng Sophady et al., 2016: 174; Forestier et al., 2015: 204) คอื การเก็บ
พืชผักและผลไม้ป่า และการดักจับและล่าสัตว์เพ่ือนามาใช้เป็นอาหาร เคร่ืองมือหินกะเทาะ (pebble
tool) ของมนษุ ย์กลุ่มนี้มีทัง้ รปู แบบเดยี วกัน และแบบทแี่ ตกตา่ งไป และมีความซบั ซอ้ นมากกวา่ ทีเ่ คยพบ
ในวัฒนธรรมหัวบิเนียนในเวียดนาม ลาว เมียนมา ไทย และอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา) เคร่ืองมือ
หินกะเทาะแบบหวั บิเนียนนนั้ มี 3 แบบหลักๆ คือ เครื่องมือหินแบบสมุ าตรา (Sumatralith หรือเครื่องมือ
1 แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ท่ีลอางสเปียนน้ันมีการค้นพบต้ังแต่ ค.ศ. 1965 และมีการสารวจและขุดค้นใน
ระหว่าง ค.ศ. 1966-1968 (Mourer and Mourer, 1970: 128; Mourer and Mourer, 1971: 35-36) สถานการณ์ทางการเมืองใน
ต้นทศวรรษท่ี 1970 ทาให้การสารวจและขุดค้นท่ีลอางสเปียนและแหล่งโบราณคดีกอ่ นประวตั ศิ าสตรแ์ หล่งอ่ืนๆ ยุติลง การสารวจ
และขุดค้นทางโบราณคดีที่ลอางสเปียนเริ่มข้ึนอีกครั้งหน่ึงใน ค.ศ. 2009 โดยคณะสารวจก่อนประวัติศาสตร์กัมพูชา-ฝรั่งเศส
(Zeitoun et al., 2012: 530; Heng Sophady et al., 2016: 162).
2 ก่อนหนา้ การสารวจและขุดค้นทางโบราณคดกี อ่ นประวัตศิ าสตร์ล่าสุดท่ีลอางสเปียน ร่องรอยการต้ังถ่ินฐานของมนุษย์
ยคุ หินใหม่ทีเ่ ก่าทส่ี ดุ ในกัมพูชาพบท่กี าปอตทางตอนใต้ของกัมพูชา กาหนดอายไุ ดใ้ นราว 4,505-4,235 ปีมาแล้ว (Carbonnel and
Delibrias, 1968: 1433).
3 หัวบิเนียน (Hoabinhian) เป็นช่ือเรียกวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงยุค
ไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้นหรือราว 10,000-4,000 ปีมาแล้ว ลักษณะร่วมของมนุษย์ในกลุ่มวัฒนธรรมน้ี คือ
การใช้เครื่องมอื แกนหินทีท่ าจากหินกรวดแมน่ ้า ชื่อวฒั นธรรมต้ังตามชื่อจังหวัดหัวบินห์ (Hoabinh) ทางตอนเหนอื ของเวียดนาม
ซง่ึ เปน็ แหล่งที่พบเครอ่ื งมอื หินในวฒั นธรรมนีเ้ ป็นคร้งั แรก