Page 31 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 31
ปัญหาการวิจัยและการเขียนโครงการวิจัยเทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษา 9-21
เรื่องที่ 9.2.2 การกำ� หนดกรอบแนวคิดการวิจัย
การก�ำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย หมายถึง การก�ำหนดแนวทาง หลักการและทฤษฎีท่ีเก่ียวกับ
เร่ืองท่ีจะท�ำการวิจัยหรือตัวแปรที่ต้องการศึกษาเพ่ือใช้เป็นกรอบความคิดพ้ืนฐานส�ำหรับการด�ำเนินการวิจัย
โดยศึกษาหลักการและทฤษฎีท่ีเกี่ยวข้องหลาย ๆ แนวทาง และน�ำมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยอย่างเหมาะสม
ดังน้ันการก�ำหนดกรอบแนวคิดควรด�ำเนินการตามแนวทาง (1) ศึกษาหัวข้อวิจัยและสาระส�ำคัญของ
วัตถุประสงค์ (2) ศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีเก่ียวข้องกับตัวแปรท่ีต้องการศึกษา (3) ก�ำหนดสมมติฐาน
การวิจัย และ (4) แสดงรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ในประเด็นปัญหาหรือหัวข้อวิจัย ดังน้ี
1. ศึกษาหัวข้อวิจัยและสาระส�ำคัญของวัตถุประสงค์ ประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้าง ตัวแปรต้น
หรือตัวแปรอิสระคืออะไรและตัวแปรตามคืออะไร ทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น หัวข้อวิจัย
“การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เร่ืองระบบการย่อยอาหาร
ส�ำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5” สาระส�ำคัญของวัตถุประสงค์ คือ การสร้างหรือพัฒนาชุดการสอน
ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพ โดยชดุ การสอนนนั้ ต้องท�ำให้นกั เรยี นไดร้ บั ความรูม้ ีความก้าวหน้าในการเรียน และมีความ
พึงพอใจในชุดการสอน ดังนั้นส่ิงที่ผู้วิจัยต้องการคือชุดการสอนท่ีมีประสิทธิภาพ การจะสร้างชุดการสอนขึ้น
มาได้น้ัน ต้องไปศึกษาหลักการและทฤษฎี และปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ท่ีเป็นตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ
เป็นปัจจัยน�ำเข้าส�ำหรับการได้มาของชุดการสอน โดยผ่านกระบวนการวิจัยอย่างเป็นข้ันตอน จึงจะได้
ชุดการสอนฯ ที่เป็นตัวแปรตาม ที่มีประสิทธิภาพ และมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน ที่แสดงถึง
ความก้าวหน้าทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน
2. ศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวข้องกับตัวแปรท่ีต้องการศึกษา มีหลักการและทฤษฎีอะไรบ้าง
ของนกั วชิ าการทา่ นใดทสี่ ามารถเลอื กมาใชก้ บั ตวั แปรทม่ี าจากประเดน็ ปญั หา หรอื นำ� มาเปน็ กรอบในการสรา้ ง
เคร่ืองมือวิจัยเพ่ือวิเคราะห์ตัวแปรได้ เช่น ตัวอย่างหัวข้อวิจัย “ระบบการเรียนการสอนจริยธรรมส�ำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษา” หรือ “ระบบการจัดการงานเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสถาบันการฝึก
อบรมทางไกล” ควรศึกษาหลักการและทฤษฎีในเร่ืองการจัดระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอน ระบบ
การศึกษาทางไกล ระบบการจัดการองค์กร และระบบการจัดการงานเทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษา ซึ่งมี
นักวิชาการหลายท่านเป็นจ�ำนวนมากที่ได้ให้หลักการไว้ เช่น กาเย่ และบริกส์ (Gagne’and Briggs) เคมป์
(Kemp) ดิค และคาเรย์ (Dick and Carey) ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) และ ศาสตราจารย์
ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เป็นต้น เพื่อน�ำหลักการมาเป็นแนวทางพัฒนาระบบการสอน หรือสร้างชุดการสอน
หรือพัฒนาระบบการจัดการงานเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องศึกษาปัจจัย
อ่ืน ๆ ท่ีเกี่ยวข้องและจ�ำเป็นส�ำหรับเป็นปัจจัยน�ำเข้าและเป็นตัวแปรอิสระ เช่น หลักสูตรเน้ือหาของระดับช้ัน
ที่ก�ำหนด คุณลักษณะของประชากร ฯลฯ