Page 23 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 23

การเมอื งและเศรษฐกจิ ในสมยั รัฐบาลพลเอกประยทุ ธ์ จนั ทรโ์ อชา 15-13
การเรยี กรอ้ งใหจ้ ดั การเลอื กตง้ั การคดั คา้ นรฐั ธรรมนญู การคดั คา้ นอำ� นาจตามมาตรา 44 การคดั คา้ นการ
จับกุมหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพ การละเมิดสิทธิมนุษยชน และประเด็นทางสังคมอ่ืนๆ เช่น การเรียกร้อง
ราคาพชื ผลเกษตร การคดั ค้านนโยบายพลงั งาน การคดั ค้านนโยบายสิ่งแวดล้อม เปน็ ต้น15

       โดยสรปุ อาจกลา่ วไดว้ า่ การเมอื งในสมยั รฐั บาลพลเอกประยทุ ธ์ จนั ทรโ์ อชา ชว่ งตน้ มคี วามชอบธรรม
ทางการเมืองค่อนข้างสูง อันเน่ืองมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย แม้รัฐบาล
พลเอกประยุทธ์จะเข้าสู่อ�ำนาจโดยการรัฐประหาร แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสังคมส่วนหนึ่งในแง่ท่ีว่า
เป็นการยุติความขัดแย้งทางสังคมท่ีเกิดขึ้น และเข้ามาเพ่ือแก้ไขสถานการณ์น�ำไปสู่การปฏิรูปประเทศใน
ระยะยาว อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ประกาศยุทธศาสตรช์ าติ 20 ปี ประกาศแผนปฏิรปู ประเทศ รวมท้งั การเลอ่ื นการเลอื กตง้ั และการด�ำเนนิ
นโยบายตา่ งๆ ทส่ี ง่ ผลกระทบตอ่ ความเชอ่ื มน่ั ทางการเมอื งและความเชอื่ มนั่ ทางเศรษฐกจิ ไดท้ ำ� ใหเ้ กดิ ขอ้
วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอันเป็นผลให้ความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาลลดลงเป็นอย่างมาก
แมร้ ฐั บาลพลเอกประยุทธจ์ ะไดเ้ ตรียมการและประกาศให้มกี ารเลอื กต้งั ใน พ.ศ. 2562 ก็ตาม
กิจกรรม 15.1.1

       รฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช 2560 ถกู วิพากษว์ จิ ารณใ์ นเร่ืองความพยายาม
เพม่ิ อำ� นาจของ “รฐั ราชการ” ใหเ้ ขา้ มาควบคมุ “รฐั บาลทมี่ าจากการเลอื กตง้ั ของประชาชน” เพราะเหตใุ ด
แนวตอบกิจกรรม 15.1.1

       ในบทเฉพาะกาลของรฐั ธรรมนญู กำ� หนดใหส้ มาชกิ วฒุ สิ ภา (ส.ว.) ในวาระเรมิ่ แรก ทงั้ หมด 250 คน
ซงึ่ มาจากการคดั เลือกของ คสช. เกอื บทั้งหมด โดย ส.ว. ชดุ น้ีจะมวี าระดำ� รงตำ� แหนง่ 5 ปี มอี ำ� นาจร่วม
ลงคะแนนกบั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร (ส.ส.) เพอ่ื เลอื กนายกรฐั มนตรี โดยตอ้ งใชค้ ะแนนเสยี งไมน่ อ้ ยกวา่
กงึ่ หนง่ึ ของสมาชกิ สองสภาจำ� นวน 750 คน รวมกนั หรอื 376 เสยี งขน้ึ ไป และมอี ำ� นาจกำ� กบั ดแู ลใหร้ ฐั บาล
ชุดใหม่ต้องท�ำตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศที่ คสช. จัดท�ำขึ้น ประกอบกับรัฐธรรมนูญฯ
พ.ศ. 2560 ยงั เปลยี่ นแปลงระบบเลอื กตงั้ เปน็ แบบ “ระบบจดั สรรปนั สว่ นผสม” ซงึ่ จะทำ� ใหพ้ รรคการเมอื ง
อ่อนแอ และเกิดภาวะรัฐบาลผสมทขี่ าดเสถยี รภาพ นอกจากน้ี ยงั มกี ารเพม่ิ อำ� นาจใหก้ บั องค์กรอสิ ระและ
ศาลรฐั ธรรมนญู เพอื่ ควบคมุ รฐั สภาและรฐั บาลทม่ี าจากการเลอื กตง้ั โดยมกี ารกำ� หนดใหอ้ งคก์ รอสิ ระสามารถ
ยน่ื เรอ่ื งใหศ้ าลรฐั ธรรมนญู วนิ จิ ฉยั ไดว้ า่ รฐั มนตรคี นใดขาดคณุ สมบตั ิ เชน่ ไมม่ ี “ความซอ่ื สตั ยส์ จุ รติ ” เปน็
ท่ปี ระจักษ์ หรอื ฝ่าฝืนหรือไมป่ ฏิบัตติ าม “มาตรฐานทางจริยธรรม” ทอี่ งค์กรอสิ ระและศาลรัฐธรรมนูญยก
รา่ งขน้ึ นอกจากน้ี ยังมีกลไกควบคุมอ่นื ๆ เชน่ ให้ผู้ว่าการตรวจเงนิ แผ่นดินควบคมุ การใช้จ่ายของรฐั บาล
ใหเ้ ปน็ ไปตาม “กฎหมายวา่ ด้วยวินัยทางการเงนิ การคลงั ” ซ่ึงรฐั บาล คสช. และสภานิตบิ ัญญัติแหง่ ชาติ
ยกร่างขึ้น

         15 “รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช 2560,” วกิ ิพเี ดีย, สืบค้นเมอ่ื วนั ที่ 22 ธนั วาคม 2561. https://th.
wikipedia.org/wiki
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28