Page 6 - พฤติกรรมมนุษย์และจริยธรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจ
P. 6

8-4 พฤติกรรม​มนุษย์แ​ ละจ​ ริยธรรม​ทางเ​ศรษฐกิจและธุรกิจ

                         ความ​นำ

       ตาม​หลัก​ทฤษฎี​เศรษฐศาสตร์​มัก​จะ​สมมติ​ให้​ผู้​ผลิต​หรือ​ผู้​ประกอบ​การ​ต้องการ​กำไร​สูงสุด​จาก​การ​ประกอบ​
การผ​ ลิต แต่ใ​นค​ วาม​เป็น​จริงผ​ ู้​ผลิต​ทุก​คน​อาจจ​ ะไ​ม่ไ​ด้​หวัง​กำไรส​ ูงสุด บาง​คนอ​ าจ​ต้องการ​ทำย​ อดข​ าย​สูงสุด บางค​ น​
อาจ​ต้องการ​รักษา​ส่วน​แบ่ง​ตลาด บาง​คน​อาจ​ต้องการ​มี​อำนาจ​ใน​การ​ควบคุม​ตลาด​โดย​ยินยอม​ตั้ง​ราคา​ขาย​ใน​ระดับ​
ที่​ต่ำ​กว่า​ระดับ​ที่ใ​ห้ก​ ำไร​สูงสุด หรือบ​ างค​ นอ​ าจ​ต้องการก​ ารย​ อมรับ​จาก​สังคมห​ รือ​เข้า​มาป​ ระกอบ​กิจการ​เพื่อช​ ่วยเ​หลือ​
สังคม อย่างไรก​ ็ตาม​ในท​ างเ​ศรษฐศาสตร์จ​ ะ​ถือว่าพ​ ฤติกรรมข​ อง​ผู้ผ​ ลิตห​ รือผ​ ู้ป​ ระกอบก​ ารส​ ่วนใ​หญ่​มุ่ง​สู่​การแ​ สวงหา​
กำไร​สูงสุด และ​การ​มุ่ง​แสวงหาก​ ำไร​สูงสุดน​ ี้ อาจ​ทำให้เ​กิดก​ ารเ​อา​รัด​เอาเ​ปรียบผ​ ู้​บริโภค​ในร​ ูป​แบบต​ ่างๆ เช่น การต​ ั้ง​
ราคา​สูง​เกิน​กว่า​ความ​เป็น​จริง หรือ​การ​ผลิต​สินค้า​ที่​ไม่มี​คุณภาพ รวม​ทั้ง​มี​พฤติกรรม​อื่น​ที่​เป็น​ผล​เสีย​ต่อ​สังคม เช่น
การผ​ ลิตส​ ินค้าท​ ี่​ไร้​คุณธรรม เช่น ยา​เสพต​ ิด การผ​ ลิต​สินค้า​ปลอม​แปลง​และป​ ลอมปน การนำส​ ินค้า​ที่ห​ มดอ​ ายุ​มาข​ าย
การ​ผลิต​สินค้า​ที่​ส่งผ​ ลก​ระท​ บ​ต่อ​สิ่งแ​ วดล้อม เช่น พลาสติกไ​ร้​คุณภาพ โฟม สินค้าท​ ี่​มี​ผลต​ ่อ​ความม​ ั่นคง เช่น อาวุธ​
สงคราม ระเบิด รวมต​ ลอดถ​ ึง​การโ​ฆษณา​ที่ห​ ลอกล​ วง เกิน​ความเ​ป็น​จริง การกร​ ะจ​ ายส​ ินค้า​ที่​เป็นการเ​ลือก​ปฏิบัติ การ​
มุ่ง​ทำลาย​คู่​แข่งขันห​ รือ​การข​ จัด​คู่แ​ ข่งขัน​ด้วยว​ ิธีท​ ี่​ไม่​เป็นธ​ รรม ฯลฯ

       ผู้​ผลิต​หรือ​ผู้​ประกอบ​การ​นับ​เป็น​ผู้​มี​อิทธิพล​และ​เป็น​ผู้​ที่​มี​บทบาท​สำคัญ​ต่อ​การ​กำหนด​เศรษฐกิจ​และ​
สังคม​ของ​ประเทศ โดย​เป็น​ผู้​กำหนด​ชนิด​สินค้า​ที่​จะ​ทำการ​ผลิต และ​บาง​ครั้ง​ยัง​มี​อำนาจ​ต่อ​การ​กำหนด​ราคา และ​
สามารถ​ฉกฉวย​เอา​ผล​ประโยชน์​ส่วน​เกิน​จาก​การ​ใช้​ทรัพยากร ทำให้​เกิด​การ​จัดสรร​ทรัพยากร​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​ใน​ระบบ​
เศรษฐกิจ

       ในส​ ังคม​ยูโทเปีย มุ่ง​หวังท​ ี่​จะใ​ห้ส​ ังคมอ​ ยู่​ร่วมก​ ัน​อย่าง​มี​ความส​ ุข ผู้​ผลิตซ​ ึ่ง​มี​อิทธิพล​เหนือก​ ว่า​ไม่​เอา​เปรียบ​
ผู้บ​ ริโภค การแ​ ข่งขันไ​ม่น​ ำไ​ปส​ ู่ก​ ารไ​ร้จ​ ริยธรรม ผู้ผ​ ลิตน​ อกจากต​ ้องร​ ับผ​ ิดช​ อบต​ ่อห​ ุ้นส​ ่วนก​ ารผ​ ลิตห​ รือเจ้าของท​ ุนแ​ ล้ว
ยังต​ ้องม​ ีส​ ่วนร​ ับ​ผิดช​ อบ​ต่อ​บุคลากร​ใน​องค์กร ลูกค้า และ​ต่อ​ชุมชน​และส​ ังคม​โดยส​ ่วนร​ วมด​ ้วย และ​นั่น​เป็นท​ ี่มาข​ อง​
การเ​รียกร​ ้องใ​ห้​องค์กรธ​ ุรกิจ​จำเป็น​ต้องม​ ีจ​ ริยธรรม​ใน​การป​ ระกอบธ​ ุรกิจ

       การ​ศึกษา​ใน​หน่วย​นี้ จะ​แบ่ง​จริยธรรม​ของ​องค์กร​ธุรกิจ​ออก​เป็น 2 ส่วน​ตาม​ความ​หมาย​ของ​การ​กำกับ​ดูแล​
กิจการ​ของ จิลล์ โซโลมอน (Jill Solomon) ที่ไ​ด้​แบ่ง​ความห​ มายข​ องก​ าร​กำกับ​ดูแลก​ ิจการอ​ อก​เป็นค​ วามห​ มาย​อย่าง​
แคบท​ ี่ค​ รอบคลุม​เฉพาะ​ความส​ ัมพันธ์ร​ ะหว่างอ​ งค์กร​ธุรกิจก​ ับ​ผู้​ถือ​หุ้น (shareholders) และ​ความห​ มาย​อย่างก​ ว้างท​ ี่​
ครอบคลุม​ถึง​ความร​ ับ​ผิดช​ อบ​ของ​องค์กรธ​ ุรกิจ​ที่ม​ ีต​ ่อผ​ ู้ม​ ี​ส่วน​ได้​ส่วนเสีย (stakeholders) กลุ่มอ​ ื่นๆ เช่น พนักงาน
ผู้บ​ ริโภค ผู้ข​ ายส​ ินค้า ชุมชน และส​ ังคมโ​ดยร​ วม โดยต​ อนท​ ี่ 8.1 จะก​ ล่าวถ​ ึงเ​รื่องข​ องก​ ารก​ ำกับด​ ูแลก​ ิจการ​หรือบ​ รรษัท-
​ภิ​บาล​ตาม​ความ​หมาย​อย่าง​แคบ​ที่​มุ่ง​เน้น​การ​บริหาร​กิจการ​ภายใน​ที่​ดี ด้วย​ความ​ซื่อสัตย์​สุจริต ใน​ตอน​ที่ 8.2 จะ
ก​ ล่าวถ​ ึงเ​รื่องค​ วามร​ ับผ​ ิดช​ อบข​ องอ​ งค์กรธ​ ุรกิจต​ ่อส​ ังคมห​ รือบ​ รรษัทบ​ ริบาลท​ ีม่​ ุ่งเ​น้นก​ ารส​ ร้างภ​ าพล​ ักษณท์​ ีด่​ ตี​ ่ออ​ งค์กร
ซึ่งจ​ ะ​ครอบค​ ลุมบ​ รรษัท​ภิบ​ าล​ตาม​ความ​หมาย​อย่าง​กว้าง และ​ตอน​ที่ 8.3 จะ​ยกต​ ัวอย่าง​ของก​ าร​กำกับด​ ูแล​กิจการ​และ​
ความร​ ับ​ผิดช​ อบ​ของอ​ งค์กรธ​ ุรกิจต​ ่อ​สังคมข​ อง​ทั้งต​ ่างป​ ระเทศแ​ ละข​ องป​ ระเทศไทย

                             ลขิ สิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11