Page 150 - สังคมโลก
P. 150
7-44 สังคมโลก
langer 1 ขององั กฤษ เปน็ ตน้ สว่ นเครือ่ งบนิ รุน่ ใหมก่ ม็ ี เชน่ F-15E, A-10A Thunderbolt-II , เฮลคิ อปเตอรร์ บ AH-
64 Apachè ที่สำ�คัญคือ เครื่องบินติดตั้งเรดาร์ควบคุมและเตือนภัยทางอากาศ AWACS ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ต่อมาสหรัฐอเมริกาและอังกฤษก็ได้กล่าวหาประธานาธิบดีซัสดัม ฮุสเซน แห่งอิรักว่าเป็นภัยคุกคามต่อ
สันติภาพของโลก เนื่องจากครอบครองอาวุธที่มีขีดความสามารถทำ�ลายล้างสูง และในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2003
สหรัฐอเมริกาพร้อมกับอังกฤษและประเทศอื่นๆ ก็บุกเข้าไปในดินแดนอิรัก ในครั้งนี้มหาอำ�นาจหลายชาติไม่เห็นด้วย
เพราะไม่เชื่อในข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ อาทิ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา และนิวซีแลนด์
หลายฝ่ายเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาต้องการเข้าไปมีอิทธิพลในตะวันออกกลางเพื่อควบคุมจุดยุทธศาสตร์และแหล่งนํ้ามัน
มากกว่า การรบดำ�เนินไป 42 วัน กองทัพอิรักก็พ่ายแพ้ ฝ่ายพันธมิตรยึดกรุงแบกแดดได้ และจับประธานาธิบดี
ซัดดัม ฮุสเซนมาขึ้นศาลอาชญากรระหว่างประเทศฐานปกครองด้วยระบอบเผด็จการและละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย
การสั่งสังหารหมู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดในอิรัก
ในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2 หรือสงครามอิรักนี้ได้มีพัฒนาการของอาวุธชนิดใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมาก อาทิ
เครื่องบินจู่โจมทิ้งระเบิดแบบ Lockheed F117 Nighthawk อากาศยานเพดานบินสูงระยะไกลส�ำ หรับตรวจตราแบบ
RQ-4 Global Hawk ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบ AGM-158 JASSM เป็นต้น
คริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง และความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ก่อให้เกิด
การต่อสู้ในรูปแบบใหม่ นั่นคือการก่อการร้ายภายในประเทศและการก่อการร้ายสากล กลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม
ต่อต้านมหาอำ�นาจ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอจะทำ�สงครามโดยเปิดเผยกับกองทัพขนาดใหญ่ซึ่งมีอาวุธ
ยุทโธปกรณ์จำ�นวนมาก จึงได้ใช้ยุทธวิธีการลอบโจมตี ก่อวินาศกรรม หรือลอบสั่งหารฝ่ายตรงข้าม เป้าหมายไม่ได้
จำ�กัดอยู่ที่กำ�ลังทางทหารและจุดยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่การปฏิบัติการกระทำ�โดยทั่วไป ไม่เลือกเวลาและสถานที่ ไม่
เลือกเป้าหมายทางทหารหรือพลเรือน นอกจากการซุ่มโจมตีกองทหารแล้วยังมีการวางระเบิดสถานที่ราชการ โรงแรม
ศูนย์การค้า สถานที่สาธารณะ ยานพาหนะ หรือแม้แต่ศาสนสถาน มีการจับคนเป็นตัวประกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับข้อ
เรียกร้องต่อรฐั บาล และบอ่ ยครั้งทีส่ ังหารตัวประกนั มกี ารลอบสังหารผู้น�ำ ทางการเมืองและชนชั้นนำ�ในด้านต่างๆ ของ
ประเทศ มีการจี้เครื่องบินหรือวางระเบิดเครื่องบิน บ่อยครั้งที่เหยื่อของการก่อการร้ายเป็นพลเรือนและทรัพย์สินของ
ชาติเป็นกลาง หรือชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ดังนั้นรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ
จึงมีนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ใน ค.ศ. 1984 ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) แห่ง
สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึง “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” (War against terrorism) โดยออกกฎหมายขัดขวาง
การปฏิบัติการก่อการร้ายและการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการปราบปรามการก่อการร้าย
หลังเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายอาหรับจี้เครื่องบินโดยสารบินชนตึกเวิร์ลด์เทรดเซนเตอร์ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บูช (George W. Bush) ก็ได้อนุมัติให้สหรัฐอเมริกาทำ�สงครามกับกลุ่มอัลกออิดะห์
(Al-Qaeda) ในอัฟกานิสถานในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2001 และใน ค.ศ. 2003 ก็ส่งกองทัพบุกอิรัก ซึ่งสหรัฐอเมริกา
เชื่อว่าให้การสนับสนุนและเป็นฐานกำ�ลังของผู้ก่อการร้ายสากล สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 จึงเปลี่ยน
โฉมหนา้ เปน็ สงครามทีเ่ ปิดกว้าง ทกุ พืน้ ทีค่ ือสมรภูมิ ทุกคนคือผูท้ ี่เกี่ยวขอ้ งกบั การสูร้ บ และทกุ เวลาอยูใ่ นสถานการณ์
สงคราม ไม่มีประเทศหรือคนชาติที่เป็นกลางอีกต่อไป ทุกประเทศและทุกคนมีโอกาสได้รับผลกระทบจากสงคราม
ก่อการร้ายโดยเท่าเทียมกัน
กิจกรรม 7.2.3
จงกล่าวถงึ ววิ ฒั นาการของสงครามร่วมสมัยปัจจบุ ัน พร้อมยกตัวอย่างสงครามมา 1 เหตกุ ารณ์
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช