Page 146 - สังคมโลก
P. 146
7-40 สังคมโลก
4. สงครามกลางเมืองในจีน ระหว่าง ค.ศ. 1927-1936 และ ค.ศ. 1945-1946 เป็นการต่อสู้ทางการเมือง
และการทหารระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคชาตินิยมจีน (กว๋อหมินตั่ง) หลังจาก ดร.ซุนยัดเซ็น หัวหน้า
พรรคชาตินิยมจีน นำ�การปฏิวัติยึดอำ�นาจราชวงศ์ชิง และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐใน ค.ศ. 1911
แล้ว ใน ค.ศ. 1921 ก็ได้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และอีก 2 ปีต่อมาได้มีการทำ�สัญญาพันธมิตรกันระหว่าง
พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคชาตินิยมจีน และองค์การคอมมิวนิสต์สากล (Comintern) พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งยัง
เล็กอยู่ได้รวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพรรคชาตินิยมจีน ใน ค.ศ. 1925 สมาชิกพรรคการเมืองทั้งสองเริ่มแตกแยก
กัน ต่อมามีการสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายซ้ายในพรรคชาตินิยมจีน ทำ�ให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนแยก
ตัวออกมา ระหว่าง ค.ศ. 1927-1933 ฝ่ายชาตินิยมจีนได้ทำ�สงครามกวาดล้างพวกคอมมิวนิสต์จีนถึง 5 ครั้งใหญ่
ทำ�ให้พลพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องเดินทัพหลบหนีการปราบปรามจากมณฑลเจียงซีไปยังมณฑลฉ่านซีเป็นระยะทาง
ถึง 12,500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “การเดินทางไกล” ( : ฉางเจิง) ใน ค.ศ. 1936 เมื่อญี่ปุ่นรุกรานจีน
พรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคชาตินิยมจีนก็ต้องกลับมาเป็นพันธมิตรกันอีกเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น
ในระหวา่ งทีท่ ำ�สงครามกบั ญีป่ ุน่ นัน้ พรรคคอมมวิ นสิ ตจ์ นี เขม้ แขง็ ขึน้ มาก เพราะไดร้ บั การสนบั สนนุ จากทหาร
และมวลชนมากกวา่ พรรคชาตนิ ยิ มจนี การกระทบกระทัง่ ระหวา่ ง 2 พรรคนีย้ งั คงมอี ยูต่ ลอดเวลา เมือ่ สงครามโลกครัง้
ที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1945 ทั้ง 2 ฝ่ายก็เริ่มทำ�สงครามกันอีก พรรคคอมมิวนิสต์จีนเรียกสงครามกลางเมืองในช่วงนี้
ว่า “สงครามปลดปล่อย” (
: เจี่ยฟั่งจ้านเจิง) สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แก่พรรค
ชาตินิยมจีน ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้อาวุธส่วนใหญ่มาจากที่ยึดได้จากทหารญี่ปุ่นและทหารพรรคชาตินิยมจีนที่
ยอมแพ้ การช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียตมีน้อยมาก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 ฝ่ายพรรคชาตินิยมจีนก็
พ่ายแพ้เกือบราบคาบ และรัฐบาลของจอมพลเจียงไคเช็กต้องอพยพหนีไปอยู่ที่เกาะไต้หวัน ก่อนหน้านั้น 2 เดือนคือ
ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เหมาเจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชน
จีน ที่มีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตตลอดระยะเวลาสงครามกลางเมืองของจีน
ราว 2 ล้านคน ทั้งนี้ไม่นับรวมผู้เสียชีวิตในช่วงการทำ�สงครามกับญี่ปุ่น64
5. สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 การบีบบังคับทางทหารของฝ่าย
พันธมิตรต่อเยอรมนีและความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพของสันนิบาตชาติในช่วงทศวรรษที่ 1930 ทำ�ให้เกิด
วิกฤตการณ์ทางการเมืองหลายครั้งซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ อาทิ กรณีญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียของจีนใน ค.ศ. 1931 กรณี
อิตาลีรุกรานเอธิโอเปียใน ค.ศ. 1934 สงครามกลางเมืองในสเปน ค.ศ. 1936 กรณีสหภาพโซเวียตรุกรานฟินแลนด์
ใน ค.ศ. 1939 เป็นต้น แต่เหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยตรงคือ การขึ้นสู่อำ�นาจของ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีในเยอรมนี การขึ้นสู่อำ�นาจของเบนิโต มุสโสลินีและพรรคฟาสซิสต์ในอิตาลี และการ
ขึ้นสู่อำ�นาจของพลเอกฮิเดกิ โตโจและรัฐบาลทหารในญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลของทั้ง 3 ประเทศปกครองด้วยระบบเผด็จการ
และนิยมใช้ความรุนแรงทางการเมือง ประเทศทั้ง 3 ได้ทำ�สนธิสัญญาแกนเบอร์ลิน-โรม-โตเกียว (Berlin-Rome-
Tokyo Axis) หรืออักษะขึ้นใน ค.ศ. 1936 ต่อมาใน ค.ศ. 1938 เยอรมนีได้ผนวกเอาออสเตรียและแคว้นสุเดเตนของ
เชโกสโลวะเกียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี แล้วเข้ายึดครองเชโกสโลวะเกียทั้งประเทศโดยที่มหาอำ�นาจอื่นๆ ไม่
ดำ�เนินการขัดขวางใดๆ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีก็บุกโปแลนด์ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลก
ครั้งที่ 2 อีก 2 วันต่อมาอังกฤษและฝรั่งเศสก็ประกาศสงครามกับเยอรมนี
ระหว่าง ค.ศ. 1939-1940 เยอรมนีได้บุกยึดประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ และยุโรปใต้ ต่อ
มาในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีก็บุกสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกที่อยู่ภายใต้การยึดครองของ
สหภาพโซเวียต ทั้งๆ ที่ได้ทำ�สนธิสัญญาไม่รุกรานกันใน ค.ศ. 1939
64 “War”, op.cit.
ลขิ สิทธขิ์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช