Page 143 - สังคมโลก
P. 143
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-37
ความนิยมลงไป เพราะไม่สามารถใช้ป้องกันอาวุธปืนชนิดต่างๆ ได้ ตัวอย่างของอาวุธที่เคยใช้ในอดีตแล้วเลิกไป และ
กลับมานิยมใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ ระเบิดมือ (Grenade) ซึ่งมีใช้ในยุโรปมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 กอง
ทหารที่ทำ�หน้าที่รบโดยการขว้างระเบิดมือ เรียกว่า Grenadiers แต่การรบไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอเพราะใช้แรง
คนขว้างได้ในระยะใกล้ และแรงระเบิดก็น้อย เมื่อเทียบกับกระสุนปืนใหญ่และกระสุนปืนครก จึงเลิกนิยมไป แต่ใน
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระเบิดมือได้กลับมาเป็นอาวุธสงครามที่มีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนารูปแบบและแรงระเบิด
โดยมีการใช้อย่างได้ผลในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1904-1905
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่สร้างขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีบทบาทสำ�คัญในยุทธศาสตร์การรบ ได้แก่
ยานยนต์ทหาร อากาศยาน และเรือรบหุ้มเกราะขนาดใหญ่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรือรบได้เริ่มพัฒนาจาก
เรือที่ใช้เครื่องจักรไอนํ้าและใบเรือในการเดินเรือ มาสู่เรือรบที่ใช้พลังงานเครื่องจักรกลอย่างเต็มที่ และในต้นคริสต์-
ศตวรรษที่ 20 มหาอำ�นาจต่างๆ ก็แข่งขันกันสร้างเรือรบหุ้มเกราะขนาดใหญ่ที่ติดตั้งปืนใหญ่อานุภาพสูง ซึ่งทำ�ให้การ
รบทางทะเลรุนแรงยิ่งขึ้น
สำ�หรับอากาศยานนั้น ได้มีการสร้างบอลลูนซึ่งลอยตัวด้วยก๊าซเบาอย่างไฮโดรเจนมาตั้งแต่ปลายคริสต์-
ศตวรรษที่ 18 แต่บอลลูนที่ใช้เพื่อการทหารเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น ในสงครามกลางเมืองของ
สหรัฐอเมริกาและในสงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน ค.ศ. 1870-1871 เป็นต้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บอลลูนได้
พัฒนามาสู่การสร้างเรือเหาะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรกล ซึ่งเรือเหาะลำ�แรกสร้างโดยเคานต์ แฟร์ดินาน ฟอน เซพ
เพลิน จึงเรียกเรือเหาะว่า เซพเพลิน (Zeppelin)59 เรือเหาะได้กลายเป็นอากาศยานทางทหารที่มีบทบาทส�ำ คัญใน
การรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนเครื่องบินนั้นได้เริ่มสร้างลำ�แรกๆ มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ต้องรอ
จนถึงศตวรรษต่อมาจึงจะมีเครื่องบินที่บินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใน ค.ศ. 1910 กองทัพบกฝรั่งเศสเริ่มจัดตั้งหน่วย
เครื่องบินรบเป็นครั้งแรก และประเทศอื่นๆ ก็เริ่มมีกองบินทหารในเวลาไล่เลี่ยกัน ต่อมาได้มีการขยายหน่วยบินใหญ่
ขึ้น แยกตัวจากกองทัพบกไปจัดตั้งเป็นกองทัพอากาศในที่สุด เครื่องบินรบมีทั้งประเภทเครื่องบินขับไล่ที่ติดตั้งปืนกล
เพื่อการต่อสู้ทางอากาศและยิงเป้าหมายภาคพื้นดิน และประเภทเครื่องบินทิ้งระเบิดที่บรรทุกระเบิดไปถล่มเป้าหมาย
ทางยุทธศาสตร์ แหล่งอุตสาหกรรม และบ้านเมืองของข้าศึก อากาศยานเป็นอาวุธที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสงครามอย่าง
มาก และจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนทำ�ให้ยุทธศาสตร์การรบวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ
ทำ�ให้กองทัพอากาศกลายเป็นกองกำ�ลังทางยุทธศาสตร์ที่ชี้ขาดในการรบในเวลาต่อมา
ในส่วนของยานยนต์ทหารนั้น กองทัพของประเทศต่างๆ ในยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ได้เริ่มดัดแปลง
รถยนตน์ ัง่ เปน็ รถหุม้ เกราะตดิ อาวธุ ปนื กลและปนื ใหญข่ นาดเลก็ มาตัง้ แต่ ค.ศ. 1904 สว่ นรถถงั นัน้ องั กฤษเริม่ สรา้ งเปน็
ประเทศแรกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ ค.ศ. 1915 แต่รถถังจะมีบทบาทน�ำ ในการรบภาคพื้นดินในสงครามโลก
ครั้งที่ 2 และจะเป็นอาวุธหลักของกองทัพบกไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาปืนใหญ่
โดยนำ�ไปติดตั้งบนยานยนต์สายพาน ทำ�ให้ปืนใหญ่สามารถเคลื่อนที่ไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้ม้าหรือรถยนต์ลากจูงอีก
ต่อไป เรียกว่า “ปืนใหญ่อัตราจร” ในขณะเดียวกันทหารช่างก็ได้ใช้รถสายพานในการติดตั้งยุทโธปกรณ์ต่างๆ เพื่อ
ปฏิบัติการในการรบได้อย่างคล่องตัว อาทิ อุปกรณ์สร้างสะพานข้ามแม่นํ้า อุปกรณ์ก่อสร้างและรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง
อุปกรณ์ตรวจกับระเบิด เป็นต้น
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือพัฒนาการทางทหารในสงครามตามแบบ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการพัฒนา
อาวุธและยุทธศาสตร์การรบในสงครามนอกแบบอีกหลายอย่าง อาทิ มีการพัฒนาอาวุธเคมีขึ้นใช้ โดยเยอรมันได้ใช้
ก๊าซซัลเฟอร์มาสตาร์ดปล่อยใส่ทหารพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการพัฒนาอาวุธชีวภาพขึ้นใช้ โดยญี่ปุ่นได้
59 Enzo Angelucci, Encyclopèdie des avions, Paris: Elsevier Sèquoia 1976, pp. 12-13.
ลขิ สิทธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช