Page 145 - สังคมโลก
P. 145

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-39

เกาะแปซฟิ กิ ทวปี เอเชยี ดว้ ย สงครามเกดิ จากการแขง่ ขนั อทิ ธพิ ลและความขดั แยง้ ระหวา่ งมหาอำ�นาจทีม่ มี าตัง้ แตป่ ลาย
คริสต์ศตวรรษที่ 19 ใน ค.ศ. 1882 เยอรมนี อิตาลีและออสเตรีย-ฮังการี ได้ร่วมกันจัดทำ�สนธิสัญญาไตรพันธมิตร
(Triple Alliance) และใน ค.ศ. 1907 อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียก็ทำ�สนธิสัญญาไตรสมานฉันท์ (Triple Entente)
ทำ�ให้ยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ค่าย ในขณะเดียวกันลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในยุโรปทำ�ให้รัฐเล็กๆ ทั้งหลายในจักรวรรดิ
ออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมานต้องการแยกตัวเป็นเอกราช ทำ�ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลายแห่ง
อาทิ สงครามระหว่างอิตาลีกับตุรกีใน ค.ศ. 1911 และสงครามระหว่างบัลแกเรีย เซอร์เบีย กรีซ และมอนเตเนโกรกับ
ตุรกีใน ค.ศ. 1912 เป็นต้น ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อเซอร์เบียต้องการรวมดินแดนของชนเผ่าสลาฟ
ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีให้เป็นปึกแผ่น ทำ�ให้ออสเตรียไม่พอใจ และในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 กาวริโล
ปรินซิป (Gavrilo Princip) ชาวเซอร์เบีย ได้ลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุค ฟรานซิส แฟร์ดินานด์ และพระชายาแห่ง
ราชวงศ์ฮับส์เบิร์ก ของออสเตรีย ขณะเสด็จเยือนนครซาราเยโว ในแคว้นบอสเนีย ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำ�ขาดให้
เซอร์เบียหยุดการกระทำ�ทุกอย่างที่เป็นการทำ�ลายความมั่นคงของอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี เมื่อไม่ได้รับคำ�ตอบที่
น่าพอใจ ในวันที่ 28 กรกฎาคม ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามเซอร์เบีย61

       ในช่วงเวลาดังกล่าวรัสเซียซึ่งเอนเอียงเข้าข้างเซอร์เบียได้ระดมพลเตรียมทำ�สงคราม เยอรมนีไม่ต้องการให้
สงครามขยายวงไปมาก จึงยื่นคำ�ขาดให้รัสเซียหยุดระดมพล แต่รัสเซียปฏิเสธ เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซีย
ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 เยอรมนีไม่ต้องการทำ�ศึก 2 ด้าน จึงเรียกร้องให้ฝรั่งเศสวางตัวเป็นกลาง แต่ฝรั่งเศส
กลับมีท่าทีเอนเอียงไปทางเซอร์เบียและรัสเซีย เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส เมื่อเยอรมนีเริ่มบุกฝรั่งเศส
โดยยกทัพผ่านดินแดนเบลเยียม อังกฤษซึ่งรับรองความเป็นกลางของเบลเยียมจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีด้วย

       คู่สงครามได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายมหาอำ�นาจกลางประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี บัลแกเรีย
และอาณาจักรออตโตมานของตุรกี ฝ่ายพันธมิตรประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี โรมาเนีย เซอร์เบีย เบลเยียม
กรีซ โปรตุเกส มอนเตเนโกร อังกฤษและเครือจักรภพ ต่อมาสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นกลางได้ประกาศเข้าร่วมกับฝ่าย
สัมพันธมิตรเมื่อล่วงรู้ว่าเยอรมนีสนับสนุนเม็กซิโกให้ทำ�สงครามกับสหรัฐอเมริกา โดยถ้าชนะสงคราม เม็กซิโกจะได้
รัฐเท็กซัส นิวเม็กซิโก และอริโซนาเป็นสิ่งตอบแทน อีกสาเหตุหนึ่งคือเรือดำ�นํ้าเยอรมันมักโจมตีเรือโดยสารและเรือ
สินค้าของชาติเป็นกลางบ่อยครั้ง และได้ยิงเรือโดยสารลูซิตาเนียของอังกฤษจม ทำ�ให้ผู้โดยสารชาวอเมริกันเสียชีวิต
128 คน62 ส่วนญี่ปุ่นประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร แต่ไม่มีบทบาทในการรบในทวีปยุโรป

       สมรภูมิส่วนใหญ่อยู่ในดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม เป็นสงครามสนามเพลาะที่ทั้ง 2 ฝ่ายขุดร่องคูและ
สร้างป้อมปราการตามแนวใต้ดิน ประจันหน้ากันเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร ตรึงกำ�ลังเป็นระยะเวลานานกว่าจะ
มีการบุกคืบหน้าของแต่ละฝ่าย อีกทั้งมีการใช้ก๊าซพิษในการทำ�สงครามด้วย ในช่วงต้นของสงครามเยอรมนีเป็นฝ่าย
มีชัย แต่ใน ค.ศ. 1917 ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มได้เปรียบในการรบ และในที่สุดฝ่ายมหาอำ�นาจกลางก็พ่ายแพ้สงคราม
ใน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 มีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนราว 30 ล้านคน63

       ได้มีการทำ�สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายมหาอำ�นาจกลาง 5 ฉบับได้แก่ สนธิสัญญา	
แวร์ซายส์ ที่ทำ�กับเยอรมนีในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 สนธิสัญญาแซงต์แชร์แม็งอองเล ที่ทำ�กับออสเตรียใน	
วนั ที่ 12 กนั ยายน ค.ศ. 1919 สนธสิ ญั ญาทรอิ านง ทีท่ �ำ กบั ฮงั การใี นวนั ที่ 4 มถิ นุ ายน ค.ศ. 1920 สนธสิ ญั ญาเนยยี ทีท่ �ำ
กับบัลแกเรีย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 และสนธิสัญญาแซฟร์ ที่ทำ�กับตุรกีในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1920

	 61มณีมัย รัตนมณี “ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ในชุดวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หน่วยที่ 3) สาขาวิชา
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2533 หน้า 136-137	
	 62 “World War I”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/World_War_I, (3/8/2553)
	 63 Wright, op.cit.	

                              ลขิ สิทธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150