Page 144 - การผลิตสัตว์
P. 144

11-16 การผลิตสัตว์

เร่อื งท​ ่ี 11.1.4
การเ​ลี้ยงแ​ พะ

1. 	 การ​เลย้ี งพ​ ่อแม​่พนั ธแ​์ุ พะ

       แพะ​เพศ​ผู้จ​ ะ​เริ่ม​แสดง​อาการ​เป็น​หนุ่ม​เมื่อ​อายุ 4–5 เดือน แต่​จะ​ผสม​พันธุ์​ได้​เมื่อ​อายุ 8 เดือน ช่วง​ใกล้​ฤดู​
ผสม​พันธุ์ แพะ​เพศ​ผู้​จะ​ปัสสาวะ​รด​บริเวณ​ท้อง​และ​อก​ของ​ตัว​เอง เนื่องจาก​อวัยวะ​เพศ​ผู้​สามารถ​ยื่น​ยาว​ออก​มา​จาก​
ถุง​หุ้ม​ได้​เมื่อ​แพะ​เพศ​ผู้​อยาก​จะ​ผสม​พันธุ์ และ​แพะ​เพศ​ผู้​จะ​แสดง​อาการ​ม้วน​ริม​ฝีปาก นอกจาก​นี้​ต่อม​กลิ่น​ที่​ฐาน
​ของเ​ขาจ​ ะ​ส่ง​กลิ่นเ​พศผ​ ู้อ​ อกไ​ป​เพื่อด​ ึงดูดแ​ พะ​เพศ​เมีย แพะพ​ ่อ​พันธุ์​ที่ม​ ีอายุ 1–2 ปี สามารถ​คุม​ฝูงแ​ ม่​พันธุ์​ได้ 10–15
ตัว ส่วนพ​ ่อพ​ ันธุ์ท​ ี่ม​ ีอายุ 2–5 ปี สามารถ​คุมฝ​ ูงแ​ ม่พ​ ันธุ์​ได้ 20–0 ตัว

       แม่​พันธุ์​แพะ​จะ​เริ่ม​แสดง​อาการ​เป็น​สัด​เมื่อ​อายุ 3–4 เดือน แต่​ยัง​ไม่​สามารถ​ผสม​พันธุ์​ได้​เพราะ​ระบบ​
สืบพันธุ์​ยังไ​ม่ส​ มบูรณ์​เต็ม​ที่ จะ​สามารถผ​ สมพ​ ันธุ์​ได้​เมื่ออ​ ายุ 8–10 เดือน

       ก่อน​การ​ผสม​พันธุ์ 1 เดือน ควร​จัดการ​ถ่าย​พยาธิ​ภายนอก​แก่​พ่อ​แม่​พันธุ์​แพะ รวม​ทั้ง​มี​การ​ฉีด​วัคซีน​
ป้องกัน​โรค​ต่างๆ เช่น วัคซีน​ป้องกัน​โรค​ปาก​และ​เท้า​เปื่อย เป็นต้น ใน​ช่วง​ก่อน​การ​ผสม​พันธุ์ 2–3 สัปดาห์​ควร​ให้​
อาหาร​ที่​มี​คุณภาพ​ดี ให้​อาหาร​หยาบ​ที่​มี​คุณภาพ มี​การ​เสริม​อาหาร​ข้น​ให้​แก่​พ่อ​แม่​พันธุ์ เพื่อ​ให้​พ่อ​พันธุ์​มี​การ​สร้าง​
ตัว​อสุจิ​ที่​สมบูรณ์ แข็ง​แรง แม่​พันธุ์​มี​การ​ตก​ไข่​มาก​ขึ้น โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​ช่วง​ที่​อาหาร​หยาบ​ที่​ให้​แพะ​กิน​มี​
คุณภาพ​ต่ำ​และ​มี​ปริมาณ​ไม่​เพียง​พอ​ต่อ​ความ​ต้องการ​ของ​แพะ ควร​เสริม​อาหาร​ข้น​ประมาณ 1–1.5 เปอร์เซ็นต์​ของ​
น้ำ​หนัก​ตัว

2. 	 การเ​ล้ยี ง​แมพ​่ นั ธ​์ุอ้มุ ​ท้องถ​ ึง​คลอด

       แม่​พันธุ์​แพะ​ที่​ผสม​ติด​แล้ว จะ​ไม่​แสดง​อาการ​เป็น​สัด​หรือ​ไม่​กลับ​เป็น​สัด แพะ​จะ​ตั้ง​ท้อง​นาน 150+4 วัน
ใน​ช่วง​ที่​แพะ​กำลัง​ให้​ผลผลิต เช่น ใน​ระยะ​อุ้ม​ท้อง และ​ใน​ระยะ​เลี้ยง​ลูก​และ​รีด​นม ควร​ให้​แพะ​กิน​อาหาร​ที่​มี​
คุณภาพ​ดี โดย​มี​การ​เสริม​อาหาร​ข้น​ร่วม​กับ​การ​ให้​อาหาร​หยาบ ใน​ระยะ​ที่​แพะ​อุ้ม​ท้อง 3 เดือน​แรก​จะ​ยัง​ไม่มี​การ
​เสริม​อาหาร​ข้น​มากกว่า​ปกติ เพราะ​ช่วง​นี้​ลูก​แพะ​จะ​มี​การ​พัฒนา​อย่าง​ช้าๆ แต่​ใน​ช่วง 2 เดือน​หลัง​ของ​การ​อุ้ม​ท้อง​
หรือ​ระยะ 4–6 สัปดาห์​สุดท้าย​ของ​การ​อุ้ม​ท้อง​จะ​เพิ่ม​ปริมาณ​อาหาร​ข้น​ประมาณ​วัน​ละ 0.5–1.0 กิโลกรัม​ต่อ​ตัว
นอกจาก​นี้​ต้อง​มี​การ​เสริม​แร่​ธาตุ​ก้อน​ให้​แพะ​ได้​เลีย​กิน​ได้​ตลอด​เวลา เพื่อ​ป้องกัน​แพะ​ขาด​แร่​ธาตุ ซึ่ง​อาจ​ทำให้​แพะ
​เกิด​ความ​ผิด​ปกติ​ได้ รวม​ทั้ง​จะ​ต้อง​มี​น้ำ​สะอาด​ให้​แพะ​สามารถ​กิน​ได้​อย่าง​เพียง​พอ​ตลอด​เวลา เมื่อ​ใกล้​คลอด
​ประมาณ 4–5 วันก่อน​คลอด​  ควร​ลด​ปริมาณ​อาหาร​ลง​และ​เพิ่ม​รำ​ข้าว​หรือ​อาหาร​หยาบ เพื่อ​ช่วย​ใน​การ​ระบาย​ท้อง
ไม่​ให้​แพะ​ท้อง​ผูก เพราะจ​ ะท​ ำให้​แม่แ​ พะค​ ลอด​ยาก

       อาการ​ของ​แม่​แพะใ​กล้ค​ ลอดส​ ามารถ​สังเกต​ได้ด​ ังนี้ แม่แ​ พะ​มีอ​ าการก​ ระวนกระวาย อาจใ​ช้ข​ าห​ น้าต​ ะกุยดิน
ส่ง​เสียง​ร้อง​ต่ำๆ เต้า​นม​ขยาย​ใหญ่​ขึ้น​มาก อาจ​มี​น้ำ​เมือก​ไหล​ออก​มา​ทาง​ช่อง​คลอด บริเวณ​สวา​ปยุบ​ลง เมื่อ​ถุง​
น้ำ​คร่ำ​แตก​ลูก​แพะ​จะ​คลอด​ออก​มา ซึ่ง​จะ​ใช้​เวลา​ใน​การ​คลอด​ไม่​เกิน 1 ชั่วโมง ถ้า​หลัง​จาก​แม่​แพะ​แสดง​อาการ​ใกล้​
คลอด​นาน​กว่า 1 ชั่วโมง แต่​ไม่มี​ลูก​คลอด​ออก​มา​  ผู้​เลี้ยง​จะ​ต้อง​ทำการ​ล้วง​ช่วย​คลอด หลัง​จาก​คลอด​ลูก​ไม่​เกิน 4
ชั่วโมง รก​จะ​ถูก​ขับ​ออก​มา หลัง​จาก​ที่​แม่​แพะ​คลอด​ลูก​แล้ว​จะ​ต้อง​คอย​หมั่น​สังเกต​ความ​ผิด​ปกติ โดย​เฉพาะ​ถ้า​พบ
มดลูกอ​ ักเสบ และเ​ต้า​นมอ​ ักเสบ ควรป​ รึกษาส​ ัตวแพทย์เ​พื่อท​ ำการร​ ักษา​ทันที

                             ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149