Page 198 - การจัดการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ
P. 198

13-20 การจัดการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ

                3) นำ�วัสดุเพาะที่เตรียมไว้ในข้อ 1) ใส่ลงในกระบะประมาณ 1 ใน 3 ถึง 1 ใน 2 ของความสูง
กระบะ ใช้ไม้บรรทัดเกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบและได้ระดับเสมอกัน ดังภาพที่ 13.4

วางวัสดุปลูกที่มุมของตะกร้า	  ใส่วัสดุประมาณ 1 ใน 3	                       เกลี่ยวัสดุปลูกให้เรียบ

                              ภาพท่ี 13.4 การวางวัสดปุ ลกู

                4) ใช้ไม้บรรทัดทำ�ร่องให้ลึกประมาณ 2-3 เท่าของความกว้างเมล็ด แต่ละร่องห่างกัน 3-4
เซนติเมตร ดังภาพที่ 13.5

	 การทำ�ร่อง 	                                                    ตะกร้าที่ทำ�ร่องเสร็จแล้ว

                              ภาพที่ 13.5 ท�ำ รอ่ งเพ่ือวางเมลด็

                5) 	นำ�เมล็ดที่ต้องการเพาะหยอดในร่องเรียงต่อกันไป แต่ละร่องจะหยอดเมล็ดได้ 30-50 เมล็ด
ขึ้นกับขนาดของเมล็ด แต่ละกระบะสามารถหยอดเมล็ดได้ 6-8 แถว ฉะนั้นในแต่ละกระบะจะเพาะเมล็ดได้ประมาณ
180-400 ต้น เมื่อหยอดเมล็ดจนครบแล้ว จึงใช้ไม้บรรทัดปาดกลบเมล็ด ใช้บัวฝอยรดนํ้าจนชุ่ม หากระดาษหนังสือ
พิมพ์ปิดทับ แล้วรดนํ้าซํ้าเพิ่มรักษาความชื้นให้กระบะเพาะ

                6) 	รดนํ้าทับลงในกระบะเพาะทุกวันวันละ 1-2 ครั้ง เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกให้รีบเปิดกระดาษ
หนังสือพิมพ์ออก การเพาะเมล็ดควรวางกระบะเพาะไว้ในที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อป้องกันต้นกล้ายืด หากไม่ได้
แสงแดดเต็มที่ต้นกล้าจะยืด และไม่แข็งแรง ให้รดนํ้าเมื่อผิวหน้าวัสดุเพาะเริ่มแห้ง การรดนํ้ามากเกินไปอาจทำ�ให้	
ต้นกล้าเน่า เนื่องจากเชื้อราเข้าทำ�ลายเมล็ดไม้ดอกบางชนิดต้องการแสงในการงอก การเพาะให้ทำ�ร่องตื้นๆ เมื่อ	
เพาะเมล็ดแล้ว ไม่ต้องกลบเมล็ด ดังภาพที่ 13.6

                              ลิขสิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203