Page 329 - ความรู้ทั่วไปเกี่ียวกับบรรจุภัณฑ์
P. 329
บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน 15-7
2.1 โลก หรือ Planet หรือ P1 เป็นองค์ประกอบที่เน้นการป้องกันสิ่งแวดล้อม หมายถึง การคำนึงถึง
ค วามส ามารถข องโลกท ี่ม ีอ ยู่เพื่อให้ส ิ่งม ีช ีวิตต ่าง ๆ สามารถด ำรงช ีวิตอ ยู่บ นโลกได้ โดยท ำใหเ้กิดค วามห ลากห ลายท าง
ชีวภาพ (biodiversity) และคำนึงถ ึงก ารใช้ท รัพยากรธรรมชาติบ นโลกอ ย่างเหมาะส มแ ละไม่ใช้มากเกินไปจนทำลาย
ธรรมชาติที่ม ีอ ยู่ การป รับปรุงสภาพแวดล้อมให้คงเดิมห ลังการนำไปใช้ การป ้องกันและลดผ ลกระท บต ่อส ิ่งแวดล้อม
และสนับสนุนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อลดการนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำลาย
ส ิง่ แ วดล้อม ตัวอยา่ งส ำคัญข องอ งคป์ ระกอบน ี้ ได้แก่ การเปลีย่ นแปลงส ภาพอ ากาศข องโลก การใชท้ รพั ยากรธรรมชาติ
และความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เห็นว่า องค์ประกอบนี้เน้นความรับผิดชอบของระบบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ และอากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวมนุษย์และ
สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
2.2 คน หรือ People หรือ P2 เป็นองค์ป ระกอบที่เน้นเกี่ยวกับสุขภาพ ความป ลอดภัยข องประชากรในสังคม
สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางศาสนา ซึ่งทุกคนควรได้รับอย่างยุติธรรมเท่าเทียมกัน ตัวอย่างสำคัญในองค์-
ประกอบนี้ ได้แก่ สาธารณสุข (public health) และส วัสดิภาพแรงงาน องค์ป ระกอบนี้แ สดงให้เห็นถ ึงค วามร ับผ ิดช อบ
ด้านสังคม ลูกจ้างควรได้รับการดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงลูกค้าและชุมชนที่
เกี่ยวข้อง
2.3 กำไร หรอื Profit หรอื P3 เป็นองค์ป ระกอบท ี่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ โดยเน้นก ารส นับสนุนเศรษฐกิจที่
มั่งคั่ง การสร้างนวัตกรรม การเป็นสังคมฐานความรู้ การแข่งขัน และร ะบบน ิเวศท ี่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างสำคัญ เช่น
มาตรฐานก ารครองช ีพ
อย่างไรก็ตาม ลักษณะท ี่อ งค์ประกอบสำคัญทั้งส ามมีการเชื่อมโยงกันโดยขาดอ งค์ป ระกอบใดองค์ป ระกอบ
หนึ่งไม่ได้ ทำให้มีข้อโต้แย้งว่า ลักษณะดังกล่าว เกิดความยั่งยืนเพียงช่วงเวลาหนึ่งทางการตลาด (Gowdy and
O’Hara, 1997) เมื่อใช้ทรัพยากรห มด ก็ไม่สามารถยั่งยืนได้ ซึ่งเป็นค วามยั่งยนื แบบออ่ นแอ (weak sustainability)
ในข ณะเดียวกันมีแนวคิดของนิโคลัส จอร์จสคู โรลเกน (Nicholas Georgescu-Rolgen) ว่า การพ ัฒนาที่ยั่งยืนควร
คำนึงส ิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ลักษณะข องอ งค์ป ระกอบพื้นฐ านทั้งสาม ควรมีลักษณะเป็นว งซ้อนกันอยู่โดยมีโลกห รือ
สิ่งแวดล้อมเป็นวงใหญ่ที่สุด วงที่ใหญ่รองลงมาเป็นสังคมหรือคน และวงสุดท้ายที่เล็กที่สุดเป็นเศรษฐกิจหรือกำไร
ดังภ าพท ี่ 15.2 ลักษณะน ี้ทำให้เกิดความย ั่งยืนที่ยาวนานก ว่าแบบแ รก และจ ัดเป็นค วามยั่งยืนแบบเข้มแข็ง (strong
sustainability) ซึ่งหมายถึง เมื่อโลกมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สิ่งมีชีวิตหรือสังคมที่อาศัยอยู่ย่อมสามารถอยู่อย่างมี
ความสุข เศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งด้านเศรษฐกิจจากกำไรจึงเกิดตามมา และก่อให้เกิดความยั่งยืนแบบเข้มแข็ง
ซึ่งเป็นลักษณะความย ั่งยืนท ี่เน้นสิ่งแ วดล้อมเป็นส ำคัญ เช่น การพ ิจารณาด้านจำนวนประชากร การพ ังท ลายข องดิน
ความห ลากห ลายท างช ีวภาพ เป็นต้น อย่างไรก ็ตามย ังไม่มีการพัฒนาแ ละน ำแนวคิดความยั่งยืนแ บบเข้มแ ข็งน ี้ไปใช้
มากนักในด้านอ ุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับแ นวคิดค วามย ั่งยืนแบบอ่อนแอ
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช