Page 78 - การสัมมนาทางการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 4
P. 78
4-68 การสัมมนาทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
2.4 มกี ารจดั ตัง้ Senior Team ในระบบบรกิ ารแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยาผูใ้ หญ่ เปน็ การ
ให้บริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ในลักษณะของการให้ข้อมูลระดับลึก การช่วยเจ้าหน้าที่
คดั กรอง ประเมนิ และสง่ ตอ่ ผูร้ บั บรกิ าร โดยเปน็ ทมี งานทีม่ คี วามเชีย่ วชาญ และมคี วามรูท้ างการแนะแนวและ
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่สามารถให้การประเมินด้านจิตวิทยาและการตัดสินใจแก้ปัญหา โดย Senior
Team เป็นทีมจัดตั้งเสริมการทำ�งานบริการแนะแนวผู้ใหญ่ให้รัดกุมถูกต้องรวดเร็ว โดยเฉพาะการให้ความ
ช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ
2.5 มีการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practice) และนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน (Innovative
Pratice) ในองค์กรที่ประสบความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานแนะแนวและการ
ปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างกรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เป็นแนวปฏิบัติที่ดีเลิศและนวัตกรรมในการปฏิบัติ
งานในการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผู้ใหญ่ ด้านบริการสุขภาพดังนี้ (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร 2552:
134-136)
แนวปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best practice)
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เป็นองค์การมหาชนในกำ�กับของรัฐที่ประสบผลสำ�เร็จในด้านการบริหาร
จัดการสามารถพึ่งตนเองได้ โรงพยาบาลมีความเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย จนกระทั่ง
พ.ศ. 2531 ได้มีการปรับปรุงคุณภาพบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน โดยมีการ
ริเริ่มแนวคิดในการนำ�รูปแบบการบริหารโรงพยาบาลแบบรัฐ-กึ่งเอกชน เข้ามาใช้โรงพยาบาล กลวิธีหลักคือ
กระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการจัดตั้งกองทุนมูลนิธิ เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพบริการ
ขยายบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น ลดขั้นตอนการทำ�งานแบบราชการ ปรับภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลให้ทัน
สมัยสะดวก สะอาด สุขภาพ โดยยึดความต้องการของผู้มาขอรับบริการเป็นหลัก รวมทั้งส่งเสริมให้มีการฝึก
อบรมพิเศษและการศึกษาดูงานเพิ่มเติมแก่บุคลากรของโรงพยาบาลที่สำ�คัญก็คือ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์
และสร้างความสัมพันธ์กับผู้มาขอรับบริการตลอดจนประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น การให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน
การบริหารโรงพยาบาลร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
นวัตกรรมในการปฏิบัติงาน (Innovative practice)
บริการของโรงพยาบาลถือว่าเป็นการดูแลระยะยาวได้แก่ โครงการการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home
Health Care: HHC) ซึ่งเริ่มดำ�เนินการในปี 2536 บริการนี้รับผู้ป่วยเป็นสมาชิกโดยความสมัครใจ ในทีมที่
พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักวิชาการ และพนักงานขับรถ ไปให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล
ถึงบ้านด้วยรถยนต์หรือเรือ ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ในเวลาราชการ ภายใต้หลักการการใช้บ้านเป็นศูนย์กลางใน
การดูแลผู้ป่วย (Home Base) ที่ให้ญาติผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยกับทางโรงพยาบาล และกำ�หนด
วิสัยทัศน์ว่า “ดูแลทุกเรื่องต่อเนื่องถึงบ้านให้บริการองค์รวม”
โดยวิธีการดำ�เนินงานมีรายละเอียด ดังนี้
1) การออกเยี่ยมไปให้บริการโดยตรงแก่ผู้ป่วยทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ วัดความดัน ตรวจเบา
หวาน ทำ�แผน เปลี่ยนสายอาหาร เปลี่ยนสายปัสสาวะ รับยาแทน