Page 28 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 28

11-18 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

สารสนเทศ หากเป็นส่ิงส�ำคัญท่ีจะสร้างความส�ำเร็จ และคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ในอดีตที่ผ่านมา การรู้
สารสนเทศได้ถูกจ�ำกัดในรูปแบบของส่ือสิ่งพิมพ์ หนังสือ วิทยุ และวารสาร เป็นต้น หากในยุคศตวรรษท่ี 21
นี้ การรู้สารสนเทศนี้มิได้ถูกจ�ำกัดให้อยู่ในรูปแบบของส่ือดังกล่าวเท่านั้น สารสนเทศได้ถูกขยายขอบเขตไป
ยังส่ือท่ีเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ซีดีรอม ฐานข้อมูลออนไลน์ อินเทอร์เน็ต ข้อมูลมัลติมีเดีย และเอกสาร
ในรูปแบบดิจิตอล เป็นต้น ท�ำให้ความสามารถในการรู้สารสนเทศต้องผสมผสานทักษะด้านการค้นคว้า การ
ประเมินความรู้เก่ียวกับเครื่องมือท่ีเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกท้ังต้องมีความสามารถในการเช่ือมโยงการ
เรียนรู้ให้เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่ รวมทั้งความสามารถในการใช้สารสนเทศให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้
วางไว้ ผสมผสานความเข้าใจเก่ียวกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม กฎหมาย และการเมือง

       นอกจากนี้ยังมีการน�ำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ การรู้สื่อ (Media Literacy) เป็น
ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ประเมิน และส่ือสาร ในรูปแบบที่มีความหลากหลายของส่ือได้
การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เพื่อเข้า
ถงึ สารสนเทศ การรเู้ ชงิ ทศั นะ (Visual Literacy) เปน็ ความสามารถในการเขา้ ใจความหมายและองคป์ ระกอบ
ต่าง ๆ ของภาพท่ีเห็น การรู้ดิจิตอล (Digital Literacy) เป็นความสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบ
ต่าง ๆ จากแหล่งท่ีกว้างขวางเมื่อมีการน�ำเสนอผ่านทางคอมพิวเตอร์และดิจิตอล การรู้เครือข่าย (Network
Literacy) เป็นความสามารถจัดการกับสารสนเทศในเครือข่ายรอบโลก เพ่ือวิเคราะห์และแก้ปัญหา เพ่ือ
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยรวม

       การรู้สารสนเทศจึงเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ส�ำคัญของบุคคล การรู้สารสนเทศต้องอาศัยความ
สามารถในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศจึงเป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการสร้าง
คุณลักษณะให้บุคคลเป็นผู้มีความรู้ มีความคิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านสารสนเทศ และช่วยให้บุคคล
เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

        4.1 	 องคป์ ระกอบของการรสู้ ารสนเทศ องคป์ ระกอบของการร้สู ารสนเทศประกอบดว้ ย ความเข้าใจ
และความสามารถส่วนบุคคลที่ตระหนักถึงความจ�ำเป็นของสารสนเทศ โดยต้องมีความสามารถดังต่อไปน้ี

            1) 	ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย ความสามารถทางกายภาพและ
สติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น
ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพ่ือคัดสรร แก้ไข วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร กับฐานข้อมูล
ท่ัวไปและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

            2) 	ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วย ความสามารถในการสังเคราะห์
หรือตีความ สามารถตัดสินใจได้ว่า แหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความ
เท่ียงตรง ซึ่งเป็นพ้ืนฐานส�ำคัญในการประเมินสารสนเทศ

            3) 	ความสามารถในการใชส้ ารสนเทศ ประกอบดว้ ย ความเขา้ ใจประเดน็ ทางเศรษฐกจิ สงั คม
วัฒนธรรม กฎหมายท่ีเก่ียวข้องกับสารสนเทศ รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ และประสิทธิภาพในการ
จัดการสารสนเทศท่ีสืบค้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33