Page 30 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 30
11-20 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู
มาลี ล�้ำสกุล (2546) ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้
คอมพิวเตอร์และเครื่องมืออุปกรณ์ท่ีเกี่ยวข้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคมและ
การสื่อสาร เพ่ือการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ บันทึก ประมวลผล ค้นหาและค้นคืน แสดงผล ส่ือสารข้อมูล หรือ
เผยแพร่สารสนเทศเพ่ือการใช้ประโยชน์
สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เก่ียวข้อง
เช่ือมโยงเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคมและการส่ือสารเพื่อรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ บันทึก
ประมวลผล ค้นหาและค้นคืน แสดงผล ส่ือสารข้อมูลหรือเผยแพร่สารสนเทศเพ่ือใช้ประโยชน์
6. พฒั นาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เรียกโดยย่อว่า ไอที เมื่อประมาณทศวรรษ
ท่ี 1960-1970 ไอทีประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ เคร่ืองคอมพิวเตอร์ระยะแรกมี
ขนาดใหญ่และมีขีดจ�ำกัดในการใช้งาน ต่อมาได้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานสูงข้ึน ส่วน
โทรคมนาคมเป็นเทคโนโลยีอีกชนิดหน่ึงที่แยกตัวจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยระบบโทรคมนาคมยุคน้ัน
จ�ำกัดการส่ือสารอยู่เพียงการสื่อสารด้วยเสียงพูดทางโทรศัพท์ ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมใน
ด้านภาพ การส่ือสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จนกระท่ังในช่วงประมาณกลางทศวรรษที่ 1990
เทคโนโลยีโทรคมนาคมได้รับการพัฒนาท�ำให้การสื่อสารในลักษณะระบบเครือข่ายท่ีส�ำคัญเป็นท่ีรู้จักดี คือ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีโทรคมนาคมจึงเป็นส่วนหน่ึงของเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มประเทศ
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุโรปได้เริ่มเรียกเทคโนโลยีสารสนเทศว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
ส่ือสารหรือไอซีที ภาษาอังกฤษใช้ว่า Information and Communication Technology: ICT
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นการผนวกรวมคอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยงการส่ือสารความเร็วสูง
เพ่อื รับส่งข้อมลู ข้อความ เสยี ง และภาพ ประกอบด้วยสารสนเทศ (information) คอมพวิ เตอร์ (computer)
และโทรคมนาคม (telecommunication) และค�ำย่อว่า ไอซีที (ICT) ย่อมส่ือความหมายถึงเทคโนโลยี
ทั้งสาม
7. ความส�ำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันมีบทบาทส�ำคัญย่ิงต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศใดมีเทคโนโลยี
สารสนเทศท่ีทันสมัยย่อมมีโอกาสพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ดังน้ัน ทั้งประเทศท่ีพัฒนาแล้วและประเทศที่ก�ำลัง
พัฒนาต่างตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว จึงพยายามติดตามและหาวิธีการพัฒนา
เทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศตนให้ก้าวหน้าทัดเทียมประเทศอื่น
ความส�ำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น มาลี ล้�ำสกุล (2546) ได้กล่าวไว้ว่า มีความส�ำคัญ 4 ด้าน
ได้แก่
7.1 ความส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง ช่วยให้ข่าวสารความรู้เร่ืองการเมืองการปกครอง เพ่ือ