Page 35 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 35
นวัตกรรมการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศในวิชาชีพครู 11-25
เรอื่ งที่ 11.2.1 กระบวนการค้นหาสารสนเทศ*
บทบาทของครูในฐานะผู้ถ่ายทอดความรู้ จ�ำเป็นจะต้องแสวงหาความรู้จากแหล่งสารสนเทศเพ่ือใช้
ในการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และทันเหตุการณ์ ครูจึงควรศึกษา
กระบวนการค้นหาสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การท�ำความเข้าใจกับกระบวนการดังกล่าว ควรเริ่มต้น
ด้วยการศึกษาเรื่องกระบวนการค้นหาสารสนเทศในมุมมองของนักสารสนเทศก่อน
1. กระบวนการและข้นั ตอนการคน้ หาสารสนเทศ
ปัทมาพร เย็นบ�ำรุง (2545) กล่าวถึงกระบวนการค้นหาสารสนเทศสรุปได้ดังน้ี กระบวนการค้นหา
สารสนเทศ (Information search process) เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่งประกอบด้วยข้ันตอน
หลัก 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การท�ำความเข้าใจความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ ซึ่งส่วนมากผู้ใช้จะต้องการ
สารสนเทศกว้าง ๆ เก่ียวกับหัวข้อใดหัวข้อหน่ึง 2) การคัดเลือกระบบค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม อาจ
พิจารณาจากเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ขอบเขต ความทันสมัย ระยะเวลาท่ีครอบคลุม และเน้ือหา เป็นต้น 3) การ
ก�ำหนดความต้องการสารสนเทศในรูปแนวคิดและค�ำค้น ผู้ค้นต้องวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศก่อน
แลว้ จำ� แนกออกมาเปน็ แนวคดิ ทค่ี รอบคลมุ ความตอ้ งการ จากนน้ั จงึ กำ� หนดคำ� คน้ แทนแนวคดิ 4) การกำ� หนด
กลยุทธ์การค้น กลยุทธ์การค้นมักอยู่ในรูปค�ำถาม ซึ่งประกอบด้วยค�ำค้นต่าง ๆ ท่ีสัมพันธ์กัน โดยทั่วไปการ
ก�ำหนด กลยุทธ์จะขึ้นอยู่กับวิธีการท�ำงานของระบบค้นคืน สารสนเทศท่ีใช้ และประเภทของความต้องการ
สารสนเทศของผใู้ ช้ 5) การดำ� เนนิ การคน้ และทบทวนผลการค้น การด�ำเนนิ การค้นเปน็ การปอ้ นคำ� ถามที่สร้าง
ข้ึนเข้าสู่ระบบค้นคืนสารสนเทศ และผู้ค้นควรทบทวนผลการค้นที่ได้รับทันทีโดยเฉพาะในกรณีที่ใช้ระบบ
คอมพิวเตอร์
กระบวนการค้นหาสารสนเทศดังกล่าวเป็นไปเพื่อการแสวงหาสารสนเทศมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของ
ผู้ใช้ซ่ึง ประภาวดี สืบสนธิ (2530: 56-57) ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการใช้สารสนเทศของบุคคลสรุปได้ดังน้ี
ใช้เพื่อสนองความต้องการส่วนบุคคล ใช้เพื่อการเรียนรู้และการศึกษา ใช้เพ่ือประกอบอาชีพ ใช้เพื่อพัฒนา
สังคมให้มีประสิทธิภาพ และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นในระดับสูงข้ึนไป เช่น ถ่ายทอดสารสนเทศไปยังผู้อื่น
แลกเปล่ียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแลกเปล่ียนทางวิชาชีพ เป็นต้น ดังน้ันการใช้สารสนเทศจึงเป็น
พฤติกรรมท่ีเกิดข้ึนหลังจากผู้ใช้เกิดความต้องการแล้วแสวงหาสารสนเทศ เม่ือได้รับสารสนเทศแล้วก็น�ำมา
ใช้ประโยชน์ ในส่วนของผู้เรียน สมพร พุทธาพิทักษ์ผล (2545: 59) กล่าวถึงการใช้สารสนเทศของผู้เรียน
สรุปได้ว่า จะเริ่มจากผู้ใช้ซึ่งคือผู้เรียนน่ันเองมีความต้องการสารสนเทศ แสวงหาสารสนเทศที่ต้องการจาก
แหล่งต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ จากน้ันมีการประมวลและการใช้สารสนเทศโดยเม่ือได้
รับสารสนเทศแล้ว จะน�ำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ เช่น ท�ำรายงาน ศึกษาต่อ และสอบ เป็นต้น
* ผู้เขียนเดิม รองศาสตราจารย์ธนรัชฏ์ ศิริสวัสด์ิ.