Page 36 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 36
11-26 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
ในทางการศึกษา ครูสามารถน�ำกระบวนการค้นหาสารสนเทศและการใช้สารสนเทศของบุคคลมา
ประยุกต์ โดยก�ำหนดเป็นกระบวนการค้นหาสารสนเทศเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ ซ่ึงมีขั้นตอนดังนี้
1) รู้ความต้องการของตนเอง ครูจะต้องรู้ความต้องการของตนเองในการค้นหาสารสนเทศว่า
ต้องการข้อมูลในเรื่องใดบ้าง เพ่ือจะได้ก�ำหนดขอบเขตเน้ือหาท่ีต้องการค้นได้
2) รวบรวมสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศตา่ ง ๆ ครคู วรรวบรวมสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศ
ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุดอ่ืน ๆ อินเทอร์เน็ต ศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ ขอค�ำแนะน�ำ สอบถามจาก
บุคคล เช่น อาจารย์ ผู้เช่ียวชาญ เป็นต้น
การรวบรวมสารสนเทศจากแหลง่ ขอ้ มลู ทหี่ ลากหลายจะทำ� ใหไ้ ดข้ อ้ มลู ทม่ี ปี รมิ าณมากและครอบคลมุ
ดังน้ัน ครูจึงควรรวบรวมสารสนเทศที่เก่ียวข้องให้มากท่ีสุดก่อนที่จะคัดเลือก
3) วิเคราะห์และคัดเลือกสารสนเทศที่เหมาะสม เม่ือรวบรวมสารสนเทศได้แล้ว ครูจะต้องมา
วิเคราะห์และคัดเลือกว่าข้อมูลใดน่าเชื่อถือ ตรงกับความต้องการ และเหมาะสมที่จะน�ำไปใช้ประโยชน์ โดย
ใช้เกณฑ์ลักษณะสารสนเทศท่ีดี และพิจารณาแหล่งสารสนเทศประกอบด้วย (รายละเอียดปรากฏในตอนท่ี
11.1 เรื่องที่ 11.1.1)
4) จัดระบบสารสนเทศ เมื่อเลือกได้สารสนเทศท่ีต้องการแล้ว ครูควรจัดระบบสารสนเทศดังกล่าว
เพ่ือความสะดวกในการใช้ของครู และเพื่อความสะดวกในการค้นคว้าของผู้เรียน เช่น ล�ำดับหัวข้อตามตัว
อักษรพร้อมทั้งระบุแหล่งท่ีจะไปหาข้อมูลได้ หรืออาจใช้วิธีการอ่ืนที่จะเอ้ือต่อการใช้สารสนเทศท่ีค้นมา
2. กระบวนการสง่ เสรมิ การรู้สารสนเทศ
กระบวนการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง กระบวนการที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา คือ The Big 6 Skills Model ซึ่งพัฒนาข้ึนโดยนักการศึกษาช่ือ Mike Eisenberg และ Bob
Berkowitz (2001-2006) โดยได้น�ำไปใช้ต้ังแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นท่ีนิยมใช้กันอย่าง
แพร่หลาย มีการน�ำไปประยุกต์เพ่ือการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยมี
5 ข้ันตอน ได้แก่
ข้ันตอนที่ 1 การก�ำหนดภาระงาน (Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือก�ำหนดขอบเขตของ
สารสนเทศที่ต้องการใช้ และก�ำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในข้ันต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การก�ำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ (Information Seeking Strategies) เป็นการ
ก�ำหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศท่ีต้องการ และประเมินความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับ
ปัญหาที่ได้ก�ำหนดไว้ข้างต้น เพื่อให้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
ข้ันตอนท่ี 3 การก�ำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ (Location and Access)
เป็นการระบุแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้ก�ำหนดไว้
ขั้นตอนท่ี 4 การใช้สารสนเทศ (Use of Information) เป็นการอ่านพิจารณาสารสนเทศท่ีต้องการ
และคัดเลือกข้อมูลข่าวสารท่ีเกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินผลงานที่ได้ท�ำขึ้น รวมท้ังการประเมิน
กระบวนการแก้ไขปัญหาสารสนเทศด้วย