Page 37 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 37
นวัตกรรมการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศในวิชาชีพครู 11-27
สำ� หรบั ในประเทศ งานวจิ ยั การพฒั นารปู แบบการรสู้ ารสนเทศสำ� หรบั สงั คมไทย (อาชญั ญา รตั นอบุ ล
และคณะ, 2550) ได้สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศส�ำหรับสังคมไทยข้ึนโดยมีพ้ืนฐาน จาก
The Big 6 Skills Model ดังกล่าวข้างต้น มี 4 ขั้นตอนได้แก่
1) ก�ำหนดภารกิจ คือ ต้องการรู้อะไร ปัญหาหรือข้อสงสัยคืออะไร
2) ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง คือ การหาค�ำตอบว่าอยู่ท่ีไหน มีวิธีเข้าถึง และการใช้แหล่งความรู้ได้
อย่างไร
3) ประเมินสารสนเทศ คือ การคัดสรรสารสนเทศอย่างไรให้ตรงกับส่ิงท่ีต้องการรู้ และ
น่าเชื่อถือ
4) บรู ณาการ วถิ กี ารใชง้ าน คอื การมวี ธิ ใี ดใชใ้ นการนำ� สง่ิ ทคี่ น้ พบมาสรปุ นำ� เสนอและสอ่ื สาร
กับผู้อ่ืนประยุกต์ใช้แก้ปัญหาใช้อย่างมีจรรยาบรรณและถูกกฎหมาย
กระบวนการค้นหาสารสนเทศเพ่ือการพัฒนาการเรียนรู้และกระบวนการส่งเสริมการรู้สารสนเทศน้ี
จะเป็นประโยชน์ต่อการน�ำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในตอนท่ี 11.3
หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเร่ืองที่ 11.2.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 11.2.1
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 11 ตอนท่ี 11.2 เรื่องที่ 11.2.1
เรอ่ื งท่ี 11.2.2 การพฒั นานวัตกรรม
นวตั กรรมเปน็ สง่ิ ทน่ี กั การศกึ ษาใหค้ วามสนใจและตดิ ตามความกา้ วหนา้ เพอ่ื จะไดน้ ำ� มาใชป้ ระโยชน์
ในการจัดการศึกษา การพัฒนานวัตกรรมจึงเป็นสิ่งท่ีนักการศึกษาควรจะรู้จักและเข้าใจข้ันตอนในการพัฒนา
ดังนี้
1. ระยะของการพัฒนานวัตกรรม
ในการพัฒนานวัตกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นระยะท่ีมีการประดิษฐ์คิดค้น (innovation) อุปกรณ์หรือวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือ
เป็นการน�ำของเก่าหรือของปัจจุบันมาปรับปรุงให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพดีย่ิงข้ึน
ระยะที่ 2 เป็นระยะของพัฒนาการ (development) ในระยะน้ีจะเป็นการน�ำเอาอุปกรณ์หรือวิธีการ
ท่ีได้มีการประดิษฐ์หรือพัฒนาปรับปรุงข้ึน มาท�ำการทดลองโดยจัดท�ำในลักษณะของโครงการน�ำร่อง (pilot
project) เพ่ือทดสอบประสิทธิภาพและหาข้อบกพร่องของนวัตกรรมนั้น ๆ แล้วแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น