Page 39 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 39
เครื่องมือการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย 5-29
พิจารณาให้คะแนนคำ�ตอบดังนี้ ใช้ได้ = 1 คะแนน ใช้ไม่ได้ = -1 คะแนน และควรปรับปรุง = 0 คะแนน นำ�คะแนน
ของคำ�ตอบแต่ละข้อมารวมกันแล้วหารด้วยจำ�นวนผู้เชี่ยวชาญ เป็นค่าไอโอซี ซึ่งถ้าได้ค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่าข้อ
คำ�ถามนั้นผ่านเกณฑ์ สามารถใช้เป็นข้อคำ�ถามได้
ขอ้ คำ�ถาม ผเู้ ชย่ี วชาญ ผเู้ ชีย่ วชาญ ผเู้ ช่ียวชาญ ค่า IOC
คนที่ 1 คนที่ 2 คนท่ี 3
ข้อ 1................................... ใช้ได้ (+1) ใช้ได้ (+1) ใช้ได้ (+1) 1.00
ข้อ 2................................... ใช้ได้ (+1) ควรปรับปรุง (0) ใช้ได้ (+1) 0.66
ข้อ 3................................... ใช้ได้ (+1) ใช้ได้ (+1) ใช้ไม่ได้ (-1) 0.33
ข้อ 4................................... ควรปรับปรุง (0) ใช้ไม่ได้ (-1) ใช้ได้ (+1) 0.00
ข้อ 5. ................................... ใช้ไม่ได้ (-1) ใช้ไม่ได้ (-1) ใช้ได้ (+1) -0.33
ข้อคำ�ถามที่ 1 และ 2 ถือว่าใช้ได้ ส่วนข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ถือว่าไม่ผ่าน โดยปกติแล้วผู้เชี่ยวชาญที่ตอบ
ว่า ควรปรับปรุง จะมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับแก้ข้อความแล้วข้อคำ�ถามนั้นสามารถใช้ได้ ส่วนที่ตอบว่า ใช้ไม่ได้
หากมีข้อเสนอแนะแก้ไข ผู้วิจัยควรแก้ไขตามคำ�เสนอแนะนั้น แล้วใช้ข้อคำ�ถามนั้นได้ หากให้คะแนนเป็น -1 ไม่
จำ�เป็นต้องมีข้อเสนอแนะ
2. การตรวจสอบคา่ ความเทยี่ งของเครอื่ งมือการวจิ ัย
ค่าความเที่ยงของเครื่องมือการวิจัย คือการที่เครื่องมือนั้นเมื่อนำ�ไปวัดหรือทดลองใช้กับกลุ่มบุคคลที่มี
ความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายแล้ว คำ�ตอบที่ได้จะใกล้เคียงหรือเหมือนกับให้กลุ่มตัวอย่างตอบ แสดงว่า
เครื่องมือมีความเที่ยง การวัดความเที่ยงนั้นจะใช้ค่าสถิติที่เรียกว่าค่า reliability วิธีการคือ
2.1 ถ้าเป็นแบบสอบถามที่เป็นการตอบแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ให้นำ�แบบสอบถามไปให้บุคคลที่
ความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายไม่น้อยกว่า 30 คนตอบแบบสอบถาม นำ�แบบสอบถามมาตรวจสอบความ
สมบูรณ์ของการตอบ แล้วบันทึกคำ�ตอบลงในโปรแกรมคำ�นวณสำ�เร็จ แล้วใช้คำ�สั่งคำ�นวณหาค่าความเที่ยง คือ
ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s α—Coefficient) ซึ่งค่าที่ถือว่าใช้ได้ คือ ค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป
2.2 ถา้ เปน็ แบบทดสอบทีก่ ารตอบมผี ิดถูก ขอ้ ใดตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน นำ�แบบทดสอบ
ไปให้กลุ่มบุคคลที่คล้ายกับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยไม่น้อยกว่า 30 คนทำ� นำ�แบบทดสอบมาตรวจให้คะแนน โดย
จำ�แนกคะแนนเป็นแต่ละข้อและของแต่ละคน คำ�นวณหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ คำ�นวณหา
สดั สว่ นของคนทำ�ถกู และผดิ ในแตล่ ะขอ้ น�ำ คา่ ทีไ่ ดไ้ ปคำ�นวณหาคา่ ความเทีย่ งโดยใชส้ ตู ร K.R.20 ของคเู ดอรร์ ชิ ารด์ สนั
ค่าความเที่ยงจะมีค่าระหว่าง 0.00-1.00 ค่าที่ยอมรับได้ว่าแบบทดสอบมีความเที่ยงสูงคือ 0.70
3. การตรวจสอบคณุ ภาพของเครอื่ งมือการวจิ ยั ประเภทต่างๆ
3.1 การตรวจสอบคณุ ภาพของแบบสอบถาม แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยที่นิยมใช้วัดความคิดเห็น
ความพึงพอใจ หรือวัดเจตคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ลักษณะจะเป็นข้อคำ�ถามแล้วให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นหรือความ
รู้สึกเป็นแบบมาตรประมาณค่าระดับต่างๆ โดยมี 5 ระดับ ถึง 11 ระดับ แต่ทั่วๆ ไปนิยมใช้ 5 ระดับ การตรวจสอบ
คุณภาพแบบสอบถามมี 2 อย่างคือ ตรวจสอบความตรงและความเที่ยง โดยมีวิธีการดังกล่าวแล้วในข้อ 1 และ 2