Page 26 - เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
P. 26
7-16 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ภาพที่ 7.6 แสดงความแตกตา่ งระหวา่ งภาพที่ใชพ้ ิกเซลทมี่ รี ูปร่างแตกตา่ งกัน ก. พิกเซลแบบสเ่ี หลย่ี มจตั ุรัส
ข. พิกเซลแบบสี่เหลีย่ มผนื ผ้าทรงสูง จะเหน็ วา่ รูปร่างของวตั ถใุ นภาพมกี ารเปล่ยี นแปลงสดั สว่ นไปเลก็ น้อย
5. ปรมิ าณการสง่ ขอ้ มูลต่อวนิ าที (line rate)
ปริมาณการส่งข้อมูลต่อวินาทีของโทรทัศน์แอนะล็อก มีรูปแบบการเขียนสัญลักษณ์คือ a/b/c เมื่อ a คือ
จำ�นวนเส้นภาพ b คืออัตราการสร้างภาพใหม่ต่อวินาที c คืออัตราส่วนที่แสดงถึงรูปแบบการสแกน ยกตัวอย่างเช่น
มาตรฐานโทรทัศน์แอนะล็อกแบบ NTSC ได้ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์อยู่ที่ 525 เส้นภาพ และมีอัตราการสร้างภาพ
ใหม่อยู่ที่ 59.94 เฟรมต่อวินาที จึงถูกเขียนเป็นสัญลักษณ์ 525/59.94/2:1 เมื่ออัตราส่วน 2:1 ระบุถึงการสแกนภาพ
แบบเส้นเว้นเส้น ถ้าหากอัตราส่วนเป็น 1:1 จะระบุถึงการสแกนแบบเรียงเส้น สำ�หรับมาตรฐานโทรทัศน์แอนะล็อก
แบบ PAL ซึง่ ใช้กันทัว่ ไปในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย ถกู เขียนเปน็ สญั ลักษณ์ 625/50/2:1 โดยมีความหมายว่า ท�ำ การ
ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ 625 เส้นภาพ และอัตราการสร้างภาพใหม่คือ 50 เฟรมต่อวินาที และใช้การสแกนภาพ
แบบเส้นเว้นเส้น ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่า สัญลักษณ์ 525/59.94/2:1 จะใช้ 2 เฟรมสำ�หรับ 525 เส้นภาพ ซึ่งเทียบเป็น 1
เฟรมต่อ 262.5 เส้นภาพ และหากนำ�ค่าจำ�นวนเส้นภาพต่อเฟรม คูณกับอัตราการสร้างภาพใหม่ จะได้ปริมาณข้อมูล
ต่อวินาทีที่ต้องส่งตามช่องทางสื่อสารคือ 262.5 × 59.94 = 15,734.25 เฮิรตซ์ และเรียกค่า 15,734.25 เฮิรตซ์ ว่าเป็น
ค่า line rate ของมาตรฐาน 525/59.94/2:1 ถ้าหากมาตรฐานถูกเขียนด้วยสัญลักษณ์ 625/50/1:1 จะมีความหมาย
ว่า ทำ�การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ 625 เส้นภาพ อัตราการสร้างภาพใหม่คือ 50 เฟรมต่อวินาที ใช้การสแกนภาพ
แบบเรียงเส้น และค่า line rate เท่ากับ 625 × 50 = 31,250 เฮิรตซ์
6. การเกดิ ภาพสีของโทรทศั น์แอนะลอ็ ก
จำ�นวนเส้นภาพและอัตราการสร้างภาพใหม่ จะมีผลโดยตรงต่อการเข้ารหัสสีในโทรทัศน์แอนะล็อก โทรทัศน์
ซึ่งใช้การสแกนภาพแบบ 525/59.94 โดยปกติจะใช้การเข้ารหัสสีตามมาตรฐาน NTSC ในขณะที่โทรทัศน์ซึ่งใช้การ
สแกน 625/50 จะมกี ารเขา้ รหสั สีด้วยมาตรฐาน PAL จงึ สามารถใชส้ ัญลกั ษณ์ 525/59.94 และ 625/50 แทนมาตรฐาน
NTSC และ PAL ได้ตามลำ�ดับ ทั้งนี้การเกิดภาพสีอันหลากหลายบนหน้าจอโทรทัศน์ ไม่ว่าจะอยู่ในระบบ NTSC
หรือ PAL หรือระบบอื่นใดก็ตาม ต่างก็ใช้เทคนิคหน้ากาก (shadow mask) เทคนิคนี้ใช้ตัวปล่อยกระแสอิเล็กตรอน
(electron guns) ดังแสดงในภาพที่ 7.7 ตัวปล่อยกระแสอิเล็กตรอน ซึ่งทำ�หน้าที่ปล่อยกระแสอิเล็กตรอนเหล่านี้
แยกจากกันเป็น 3 กระแส ทั้งนี้โดยตัวกระแสอิเล็กตรอนเองนั้น ประกอบไปด้วยอิเล็กตรอนซึ่งไม่มีสีใด ๆ ทั้ง 3
กระแสมาบรรจบรวมกันบริเวณหลังฉากจอโทรทัศน์ และเมื่อกระแสอิเล็กตรอนทั้งสามกำ�ลังเดินทางมาถึงบริเวณ
ฉากจอโทรทัศน์ (CRT Screen) จะเกิดการเบี่ยงเบนทิศทางไปเล็กน้อย เมื่อกระแสอิเล็กตรอนแต่ละกระแสกระทบ
กับฉากจอที่เคลือบด้วยสารประกอบฟอสเฟอร์ สารประกอบนี้แปลงพลังงานจลน์ของการชนของอิเล็กตรอนให้เป็น
แสงสว่างของภาพ และแต่ละกระแสเมื่อกระทบกับฉากจอแล้วจะทำ�ให้เกิดสีประจำ�กระแส 1 สี ดังนั้นทั้ง 3 กระแส