Page 28 - เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
P. 28
7-18 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
จากภาพที่ 7.8 แสดงบริเวณพื้นที่สีของแต่ละ triad จุดสีทั้งสามจุดของ triad จะแผ่สีออกมาในลักษณะ
ฟังก์ชันความหนาแน่นความน่าจะเป็น (probability density function) ซึ่งบริเวณตำ�แหน่งศูนย์กลางของ triad จะ
มีระดับการแผ่สีที่สูงที่สุด ในขณะที่ตำ�แหน่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง จะมีระดับการแผ่ลดลง และพื้นที่การแผ่สีของ
triad มีความยาว 0.63 มิลลิเมตร ซึ่งมากกว่าพื้นที่ของพิกเซลที่มีความยาว 0.353 มิลลิเมตร ด้วยเหตุนี้สีของแต่ละ
triad จึงส่งผลกระทบต่อสีของ triad ที่อยู่ข้างเคียงด้วย
7. อัตราการแสดงภาพต่อวินาที (frame rate)
ถา้ วดิ โี อทีส่ รา้ งขึน้ มาถกู รบั ชมบนอปุ กรณต์ า่ งชนดิ กนั จ�ำ เปน็ ตอ้ งพจิ ารณาถงึ อตั ราการแสดงภาพของอปุ กรณ์
เหล่านี้ เนื่องด้วยอุปกรณ์แสดงภาพวิดีโอแต่ละชนิด ใช้กับระบบโทรทัศน์แอนะล็อกที่แตกต่างกัน หากเลือกอัตราการ
แสดงภาพทีไ่ มเ่ หมาะสม จะสง่ ผลเสยี ตอ่ คณุ ภาพของวดิ โี อในขณะรบั ชม เชน่ มภี าพกระตกุ หรอื การเคลือ่ นไหวของวตั ถุ
ในวิดีโอไม่ราบรื่น และมีบางภาพที่จำ�เป็นต้องตัดออกไป เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการ
เปลี่ยนอัตราการแสดงภาพของข้อมูลวิดีโอ นอกจากนี้แล้วปัญหาดังกล่าว ต้องอาศัยการเปรียบเทียบอัตราการแสดง
ภาพของแต่ละมาตรฐานโทรทัศน์และอาศัยการชักสัญญาณ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอัตราการแสดงภาพที่แตกต่างกัน
7.1 การเปรยี บเทยี บอตั ราการแสดงภาพระหวา่ งมาตรฐานแบบเอน็ ทเี อสซี และแบบพเี อแอล เนือ่ งด้วยระบบ
โทรทัศน์แอนะล็อกแบบ NTSC ใช้ความถี่ของกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 60 เฮิรตซ์ ซึ่งสอดคล้องกับจำ�นวน 60 เฟรมต่อ
วินาที และเทียบได้กับอัตราการสร้างภาพใหม่ 30 ภาพต่อวินาที ในขณะที่ความถี่ของกระแสไฟฟ้าในระบบ PAL อยู่
ที่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งต้องแสดง 50 เฟรมต่อวินาที สอดคล้องกับอัตราการสร้างภาพใหม่ 25 ภาพต่อวินาที หากนำ�วิดีโอ
ที่มีจำ�นวน 30 ภาพต่อวินาที ตามมาตรฐานของ NTSC ไปเปิดรับชมบนอุปกรณ์ที่อยู่ในระบบ PAL จะต้องตัดบาง
ภาพออกไป โดยลดจาก 30 ภาพให้เหลือ 25 ภาพต่อวินาที ส่งผลให้วิดีโอเกิดการกระตุกขณะรับชม ในทางกลับกัน
หากนำ�วิดีโอที่มีจำ�นวน 25 ภาพต่อวินาที ตามมาตรฐานของ PAL ไปเปิดรับชมด้วยอุปกรณ์ของระบบ NTSC จะต้อง
เพิ่มภาพพิเศษเข้าไป โดยเพิ่มจาก 25 ภาพเป็น 30 ภาพต่อวินาที ส่งผลให้ต้องเพิ่มฟิลด์ใหม่เข้าไปด้วย ทั้งนี้การเพิ่ม
ฟิลด์ใหม่ด้วยการทำ�สำ�เนาซํ้า ไม่ใช่แนวทางที่ดีเพราะว่าแต่ละฟิลด์มีความสัมพันธ์ด้านระยะทาง (spatial) และเวลา
(temporal) กับฟิลด์ที่อยู่ติดกันทั้งก่อนหน้าและหลัง ภาพที่ 7.9 แสดงความสัมพันธ์ทางด้านเวลาของฟิลด์เหล่านี้
จะเห็นว่าการดำ�เนินการกับฟิลด์ไม่ได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตราการแสดงภาพ ดังนั้นการแปลงขาไปและขากลับระหว่าง
วิดีโอในมาตรฐาน NTSC และ PAL ซึ่งต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในเส้นภาพ และความละเอียดตามแนวแกน
ขวาง ต้องอาศัยวิธีการประมาณค่าในช่วง (interpolation) ตามแนวแกนขวางและแกนตั้งในการแปลงขาไปและ
ขากลับ แถวบนคือการแสดงลำ�ดับของฟิลด์ตามมาตรฐาน NTSC 60 เฮิรตซ์ ซึ่งมีความถี่ของการแสดงฟิลด์มากกว่า
แถวล่างซึ่งใช้มาตรฐาน PAL 50 เฮิรตซ์ และทั้งสองมาตรฐานซึ่งใช้การสแกนแบบเส้นเว้นเส้น มีการแสดงฟิลด์แบบ
สลับกันระหว่างฟิลด์ที่มาจากเส้นภาพเลขคี่ (odd, E) และฟิลด์ที่มาจากเส้นภาพเลขคู่ (even, E)
ภาพท่ี 7.9 แสดงความสมั พนั ธ์ด้านเวลาของฟลิ ด์ ตามมาตรฐาน NTSC และ PAL