Page 45 - โครงการผลิตหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
P. 45

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมโดยงบประมาณแผ่นดิน ประจำ�ปี 2559       2-1

                                  บทท่ี 2

                 พฒั นาการของความร่วมมอื และกฎบัตรอาเซยี น

แนวคดิ
      แม้อาเซียนจะมีการลงนามก่อต้ังมาต้ังแต่ปี พ.ศ. 2510 แต่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจใน

ระยะแรกยังไม่มีผลคืบหน้าจนกระท่ังมีการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2519 ณ เมืองบาหลี
ประเทศอินโดนีเซียที่ได้มีการลงนามความร่วมมือในปฏิญญาสมานฉันท์แห่งอาเซียน (Deceleration of
ASEAN Concord) ที่มีสาระครอบคลุมด้านการเมือง เศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ท่ีนาไปสู่ความตกลงว่าด้วย
การให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Agreement of ASEAN Referential Trading Agreement: ASEAN PTA)
ในปี พ.ศ. 2520 และภายหลังการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าอย่างรุนแรงทั่วทวีปเอเชียอันมีผลจากวิกฤติ
เศรษฐกจิ ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ประกอบกบั ความไม่คบื หนา้ ของการเจรจาการค้าหลายฝา่ ยรอบ
โดฮาภายใต้องค์การค้าโลกเพื่อลดข้อจากัดและส่งเสริมการค้าเสรี ประกอบกับการขยายตัวของการจัดทา
เขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีท่ีมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นาทาให้อาเซียนจาเป็นต้องหันมาวางแผนและกาหนด
ทิศทางความร่วมมือให้กระชับและรวดเร็วขึ้น จนในการประชุมสุดยอดอาเซียนคร้ังท่ี 9 เม่ือเดือนตุบาคม
พ.ศ. 2546 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นาอาเซียนได้ประกาศแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali
Concord 11) แสดงเจตนารมณ์ท่ีจะยกระดับการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคเป็นประชาคมอาเซียนภายใน
พ.ศ. 2563 (2020) โดยภายใต้ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยเสาหลักคือประชาคมความมั่นคงของ
อาเซียน (ASEAN Security Community : ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Social – Cultural
Community : ASCC) แต่ต่อมาในการประชุมสุดยอดผู้นาอาเซียน ครั้งท่ี 12 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.
2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นาอาเซียนได้ลงนามในการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนให้เร็วขึ้นจากกาหนดเดิมภายใน พ.ศ. 2563 (2020) เป็นภายใน พ.ศ. 2558 โดยมีแนวทางและ
ระเบียบการดาเนนิ การใหเ้ ปน็ ไปตามกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ท่จี ะเกิดข้ึนต่อไป
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50