Page 51 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 51

เศรษฐกิจไทยสมยั รชั กาลท่ี 7–พ.ศ. 2519 11-41
       ดงั นั้น จอมพลสฤษด์จิ ำ� เปน็ ต้องสร้างฐานอ�ำนาจจากภาคเอกชนและลดอำ� นาจของรัฐวิสาหกิจลง
และการพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ คือการสร้างฐานอ�ำนาจทางการเมืองใหม่ด้วยการสนับสนุนและเป็น
พนั ธมิตรกบั ภาคเอกชน ในทางปฏิบัติเท่ากบั เปน็ การสลายความร้สู ึกชาตนิ ิยม (Nationalism) ทีเ่ กิดขึ้น
ในสมยั จอมพล ป. พบิ ลู สงคราม และยตุ คิ วามแปลกแยก (Aliennation) ทเ่ี กดิ ขนึ้ ในหมคู่ นอนั เปน็ ผลจาก
การใชน้ โยบายชาตนิ ยิ ม นอกจากนี้ นโยบายการพฒั นาเศรษฐกจิ ของจอมพลสฤษดิ์ ยงั มสี ว่ นตอ่ การสรา้ ง
ความกลมกลืนในสังคมโดยสร้างความผูกพันในหมู่พ่อค้าจีนกับสังคมไทยและถือเป็นกลไกในการพัฒนา
เศรษฐกจิ และสงั คมของไทยทม่ี ลี กั ษณะแตกตา่ งจากประเทศเพอื่ นบา้ นอน่ื ๆ เชน่ มาเลเซยี หรอื อนิ โดนเี ซยี
ที่ความแปลกแยกในทางสังคมทเ่ี กดิ จากเช้ือชาตยิ ังคงมใี หเ้ ห็นจนกระท่ังปัจจุบนั 74
       ในขณะที่ ความคดิ ของกลมุ่ เทคโนแครตไทยหรอื กลมุ่ ขา้ ราชการนกั วชิ าการ จะตง้ั อยบู่ นสมมตฐิ าน
ที่ว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะน�ำมาซึ่งการพัฒนาทางสังคมโดยอัตโนมัติ หรือกล่าวอีกนัยว่า
เป้าหมายทางสังคมท่ีแท้คือผลพลอยได้จากเป้าหมายทางตัวเลขของการเติบโตทางเศรษฐกิจ75 ดังนั้น
การเน้นแผนงานและโครงสรา้ งทางเศรษฐกิจจงึ กลายเปน็ หวั ใจหลักของเปา้ หมายในการพฒั นาชว่ งแรก
       อย่างไรก็ตาม ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เสถียรภาพใน
ทางการเมืองท่ีแม้ว่าจะได้มาด้วยความรุนแรงและเด็ดขาด แต่มีส่วนส�ำคัญในการปูพ้ืนสู่การพัฒนาทาง
เศรษฐกิจแผนใหม่ให้แก่ประเทศ ยุคการปกครองของจอมพลสฤษด์ิ ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการเกิดสถาบัน
และองค์กรท่ีเก่ียวข้องกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจใหม่ๆ อาทิ ส�ำนักงานงบประมาณ คณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และส�ำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง76 หน่วยงานเหล่าน้ีท�ำให้เกิดการปรับปรุงด้านการบริหารงานให้เป็นระเบียบ เช่น ใน
พ.ศ. 2502 การออกพระราชบญั ญตั วิ ธิ กี ารงบประมาณ เพอ่ื จดั ทำ� งบประมาณ จดั ตงั้ สำ� นกั งบประมาณเพอ่ื
ท�ำหน้าท่ีตระเตรียม วิเคราะห์และน�ำเสนองบประมาณโดยมีวิธีการและหมายก�ำหนดการที่แน่นอน
ขณะที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานท�ำหน้าท่ีวางผังการปฏิบัติงานของภาครัฐบาล
และประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ก�ำหนดโครงการและจัดล�ำดับความส�ำคัญของโครงการลงทุนของ
รัฐบาล77 เป็นต้น สถาบันและองค์กรเหล่าน้ีล้วนแต่เป็นกลไกที่มีบทบาทในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศไทยทม่ี ลี ักษณะต่อเนื่องมาจนถึงปัจจบุ ัน

กิจกรรม 11.3.1
       สาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการเปล่ียนแนวคิดในการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจของไทยจากทุนนิยม

โดยรฐั มาเป็นเศรษฐกจิ “แบบทุนนยิ มเสรี”

         74 สมชาย ภคภาสนว์ ิวัฒน.์ เรือ่ งเดียวกัน. น. 17-18.
         75 เรือ่ งเดยี วกัน.	
         76 เร่ืองเดยี วกนั . น. 13-14.	
         77 นวพร เรอื งสกุล. เรือ่ งเดยี วกนั . น. 310.
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56