Page 50 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 50
11-40 ประวตั ิศาสตรไ์ ทย
นโยบายท่ีส�ำคัญในระยะแรกของการพัฒนา คือ การส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน ในส่วนที่
เก่ียวข้องกับการผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing) และการค้า ในขณะท่ีสมัยของจอมพล ป.พิบูล-
สงคราม รัฐมีบทบาทส�ำคัญในการครอบง�ำกิจการทางเศรษฐกิจโดยอาศัยกรอบของการจัดต้ังรัฐวิสาหกิจ
เป็นจำ� นวนมาก แตใ่ นสมัยจอมพลสฤษด์ิ เนน้ ปรชั ญาพน้ื ฐาน คอื กจิ กรรมทางเศรษฐกิจจะเป็นของภาค
เอกชนโดยเฉพาะภาคอตุ สาหกรรมและพาณชิ ย์ รฐั จะเขา้ ไปดำ� เนนิ การเฉพาะสว่ นทภ่ี าคเอกชนไมส่ ามารถ
ท�ำได้ หรอื รฐั จะมบี ทบาทในการสร้างเงอ่ื นไขทเี่ ออื้ อำ� นวยต่อกจิ กรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน นั่นก็
คอื บทบาทของรัฐจะเนน้ ในสว่ นท่ีสมั พนั ธ์กบั การพัฒนาสาธารณปู โภคพืน้ ฐาน ซึ่งจะเปน็ กลไกท่สี ่งเสริม
และเอื้ออำ� นวยตอ่ การคา้ และอุตสาหกรรมทีถ่ ือเปน็ กจิ กรรมของเอกชน72
บทบาทของรฐั สามารถแยกเป็น 2 ด้าน ไดแ้ ก่ รฐั ในฐานะผลู้ งทนุ ให้บรกิ ารพนื้ ฐานทางเศรษฐกจิ
และในฐานะส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนในกิจการอุตสาหกรรม กล่าวคือ บทบาทรัฐในฐานะ
ผู้ลงทุนให้บริการพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ รัฐจะสร้างหน่วยงานและแผนงานต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนา
เศรษฐกจิ ดา้ นอตุ สาหกรรม โดยการกเู้ งนิ จากตา่ งประเทศมาพฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐานทางเศรษฐกจิ ทส่ี ำ� คญั
ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า ประปา การสาธารณสุข รวมทั้งการสร้างเขื่อนเพ่ือประโยชน์ในการชลประทานและ
การผลติ กระแสไฟฟา้ เพอ่ื ใช้ในกจิ การภาคอุตสาหกรรม
อีกด้านคือ บทบาทรัฐในฐานะผู้ส่งเสริมสนับสนุนการลงทุน รัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ
ภาคเอกชนทง้ั จากตา่ งประเทศและภายในประเทศ โดยประกาศใช้ “พระราชบญั ญตั สิ ง่ เสรมิ การลงทนุ พ.ศ.
2503” ซึ่งมีสาระส�ำคัญ ให้ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าส�ำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัตถุดิบท่ีน�ำเข้ามาใช้
ในโรงงานอตุ สาหกรรม ยกเว้นภาษีเงินไดเ้ ปน็ เวลา 5 ปี ยกเวน้ ภาษีการค้าส�ำหรบั อตุ สาหกรรมผลิตเพื่อ
สง่ ออก ยอมใหผ้ ลู้ งทนุ สง่ ทนุ และผลก�ำไรออกนอกประเทศไดอ้ ยา่ งเสรี ยอมใหซ้ อื้ ทด่ี นิ ในประเทศไทย ยอม
ใหน้ ำ� ชา่ งเทคนคิ ผบู้ รหิ ารเขา้ ประเทศไทยไมจ่ ำ� กดั จำ� นวน รฐั บาลไทยจะประกนั คมุ้ ครอง ไมใ่ หก้ จิ การของ
นายทนุ ตา่ งชาตถิ กู โอนไปเปน็ ของรฐั และเมอ่ื เรมิ่ ใชแ้ ผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 1 ไดอ้ อกพระราชบญั ญตั สิ ง่ เสรมิ
การลงทนุ พ.ศ. 2505 เพ่ิมเตมิ อีกหน่งึ ฉบบั 73 เปน็ ตน้ จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ชว่ งต้นทศวรรษ 2500 กอ่ นท่ี
จะประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลเร่ิมมีนโยบายสนับสนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อ
ทดแทนการน�ำเขา้ เปน็ ล�ำดบั ดว้ ยการกระตุ้นความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจจากภาคเอกชน
การวางแผนพฒั นาทางเศรษฐกจิ ของไทยทเี่ กดิ ขน้ึ ในชว่ งเวลาดงั กลา่ วสะทอ้ นแนวคดิ พน้ื ฐานทม่ี า
จากผู้มีอ�ำนาจทางการเมืองคือจอมพลสฤษดิ์ และภาพสะท้อนของปรัชญาการพัฒนาตะวันตกของกลุ่ม
เทคโนแครต ซึ่งแนวคิดทั้ง 2 ประการสามารถประสานกลมกลืนกันได้ เห็นได้จากแนวคิดพื้นฐานของ
จอมพลสฤษด์ิ ทเี่ นน้ บทบาทของภาคเอกชนในสว่ นของอตุ สาหกรรมและพาณชิ ย์ มจี ดุ กำ� เนดิ ในเชงิ อำ� นาจ
ทางเศรษฐกิจการเมอื ง กล่าวคอื ฐานอำ� นาจของจอมพล ป. พิบลู สงคราม ส่วนหน่ึงอยู่ท่ีรฐั วิสาหกจิ
72 สมชาย ภคภาสนว์ ิวฒั น์. เร่ืองเดยี วกนั . น. 16.
73 รายละเอียดเพิ่มเติมใน พัชรี ธนะมัย. (2527). การเมืองของการก�ำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย: กรณีศึกษา-
พระราชบญั ญัตสิ ่งเสรมิ การลงทนุ ปี พ.ศ. 2497, 2503 และ 2505. ใน ฉตั รทิพย์ นาถสภุ า และสมภพ มานะรงั สรรค.์ เร่อื งเดยี วกัน.
น. 249-306.