Page 57 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 57

เศรษฐกิจไทยสมยั รชั กาลท่ี 7–พ.ศ. 2519 11-47
สังคมมากข้ึนเพ่ือลดความแตกต่างของรายไดแ้ ละบริการสงั คม ได้ก�ำหนดการดำ� เนนิ งานเป็น 3 แนวทาง
คือ การลดอัตราเพ่ิมของประชากร การกระจายบริการด้านเศรษฐกิจและสังคม การสร้างโอกาสและขีด
ความสามารถของประชนชนใหร้ บั ประโยชนจ์ ากการบรกิ ารพนื้ ฐานทางเศรษฐกจิ โดยจะใหค้ วามสำ� คญั กบั
การพัฒนาในระดบั ภมู ิภาคและระดับทอ้ งถ่นิ รวมทง้ั ใหจ้ ัดท�ำแผนพฒั นาระดับภาค

       ภาพรวมของแผนฯ กำ� หนดเปน็ แนวทางพฒั นาสว่ นรวม83 เพอื่ กำ� หนดมาตรการตามนโยบายการ
พฒั นาทางเศรษฐกจิ และสังคม ส�ำหรบั มาตรการและโครงการทางดา้ นเศรษฐกิจทส่ี �ำคัญๆ มดี งั น8้ี 4

            - การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและยกระดับการผลิตและรายได้ประชาชาติให้สูงขึ้น
การยกระดับการผลิต เปา้ หมายสำ� คญั อยูท่ ่ีการผลิตในสาขาเกษตร ได้แก่ โครงการเรง่ รัดการผลิตพชื ผล
หลายชนิดและขยายประเภทผลิตผลเกษตร ส่งเสริมปรับปรุงการจ�ำหน่วยผลิตผลเกษตรให้สอดคล้องกับ
ภาวะการตลาด ผลติ ผลเกษตรหลกั ใหป้ รบั ปรงุ ดา้ นการเพมิ่ ผลผลติ ตอ่ ไร่ การขยายตลาด และการปรบั ปรงุ
คณุ ภาพ ท้ังน้ี เพอ่ื ให้ผลผลติ ทางเกษตรเพม่ิ ในอัตราเฉล่ยี รอ้ ยละ 5.1 ตอ่ ปี (เทียบกับร้อยละ 4.1 ในแผน
พฒั นาฯ ฉบับท่ี 2)

            ดา้ นอตุ สาหกรรม สนบั สนนุ อตุ สาหกรรมประเภททมี่ ลี ำ� ดบั ความสำ� คญั สงู แลว้ ใหข้ ยายออก
โดยรวดเรว็ โดยกำ� หนดเปา้ หมายเพิ่มผลผลติ ประชาชาติในอัตราเฉลี่ยรอ้ ยละ 7.0 ตอ่ ปี ต�่ำกวา่ อัตราเพิม่
ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 2 (ร้อยละ 7.2 ต่อปี) และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 มเี ป้าหมายทีจ่ ะลด
อัตราการเพม่ิ ของประชากรให้เหลือประมาณร้อยละ 2.5 ในปี พ.ศ. 2519 ดังน้นั ในระยะของแผนพฒั นาฯ
รายไดต้ ่อบคุ คคลจะเพิ่มข้นึ ในอัตราเฉล่ยี รอ้ ยละ 4.5 (สูงกว่าอัตราเพิม่ เฉลย่ี รอ้ ยละ 4.0 ในระยะของแผน
พฒั นาฯ ฉบับท่ี 2)

            - 	 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อรักษาเงินทุนส�ำรองฯ ในระดับที่
มั่นคง ได้ก�ำหนดเป้าหมายสินค้าส่งออกและสินค้าน�ำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเฉล่ียประมาณร้อยละ 7.0 และ
ร้อยละ 2.9 ตอ่ ปตี ามล�ำดบั และวางแนวทางด�ำเนินการ 3 ด้าน คอื ด้านการสง่ ออก ดา้ นการน�ำเข้าสินคา้
และมาตรการดา้ นการบริการ ไว้ดังนี้

                ด้านการส่งออก ไดแ้ ก่ มาตรการปลดเปลอื้ งภาระภาษอี ากร เพอ่ื ลดตน้ ทนุ ในการผลติ
และท�ำให้สินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้มากข้ึน มาตรการสร้างความเข้มแข็งในการ
แสวงหาตา่ งประเทศ การสง่ เสรมิ เอกชนในการลงทนุ ในกจิ กรรมพน้ื ฐาน เชน่ การจดั ตงั้ ไซโล จดั การอปุ กรณ์
ในการจัดเก็บขนถา่ ยสินคา้ และสร้างท่าเทยี บเรือเพ่ือสง่ สินคา้ ออกเฉพาะประเภท (เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
และแร่) เพ่ือช่วยลดต้นทุนของการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ ขณะที่ภาครัฐจะต้องปรับปรุงกิจการ
ทา่ เรอื และการขนถา่ ยสนิ คา้ ลงเรอื รวมทงั้ การสง่ แบบหบี หอ่ (Containerization) พรอ้ มทง้ั กำ� หนดนโยบาย

         83 แนวทางการพัฒนาส่วนรวม แยกเป็น 6 หัวข้อสำ�คัญ ได้แก่ 1. การปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อยกระดับการผลิตและ
รายได้ประชาชาติให้สูงขึ้น 2. รักษาเสถียรภาพของประเทศ โดยรักษาทุนสำ�รองให้อยู่ในระดับที่ม่ันคงและแก้ปัญหาด่วนในด้าน
เศรษฐกิจตึงตวั 3. ส่งเสรมิ ความเจรญิ ในภูมภิ าคและลดความแตกตา่ งรายได้ 4. สง่ เสรมิ ความเป็นธรรมของสงั คม 5. พัฒนากำ�ลัง
คนและเพิ่มการมีงานทำ� และ 6. ส่งเสรมิ บทบาทของเอกชนในการพฒั นา

         84 ดูรายละเอยี ดเพ่ิมเตมิ ไดจ้ าก ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาต.ิ แผนพฒั นาเศรษฐกจิ
และสังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 3 พ.ศ. 2515-2519. อา้ งจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=3778 สบื ค้นเมื่อ 6
กมุ ภาพนั ธ์ 2560.
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62