Page 68 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 68
11-58 ประวัตศิ าสตร์ไทย
การผลิตสินค้าขั้นปลายที่ได้รับการส่งเสริม ส่งผลให้การผลิตขาดประสิทธิภาพและสร้างปัญหาในแง่ของ
การขาดดุลการค้าเพราะมีความจ�ำเป็นต้องสั่งสินค้าขั้นกลางและประเภททุนเข้ามามาก ปัญหาจากการ
พัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว ท�ำให้ต้องปรับกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมสู่นโยบายส่งเสริมการส่งออก
(Export-oriented Policy)96
4. การขยายตัวด้านการค้า
การขยายตวั ทง้ั การคา้ ภายในประเทศและการคา้ ตา่ งประเทศ เกดิ จากการพฒั นาประเทศจากเงนิ
ช่วยเหลือจากต่างประเทศ ประกอบกับเสถียรภาพทางการเมืองภายใต้รัฐบาลทหารและการเร่งขยาย
งบประมาณการพฒั นาสง่ ผลให้เกิดการขยายตวั ของตลาดภายในประเทศอยา่ งรวดเร็ว และเอ้ือให้ทนุ จาก
ต่างประเทศเข้ามาลงทุนเพื่อสร้างอุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้า ลดต้นทุนการผลิต เช่น อุตสาหกรรม
ทอผ้า ได้เข้ามาพร้อมกับทุนญ่ีปุ่นตามการขยายตัวของตลาดในประเทศและประเทศข้างเคียงอันมีผล
สืบเน่ืองจากสงคราม ขณะเดียวกันการขยายตัวทางการค้าต่างประเทศเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ เมื่อรัฐบาลเร่งสร้างอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการน�ำเข้า ท�ำให้ต้องส่ังซื้อสินค้าเครื่องจักรกล
และอุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศ และเพื่อรักษาดุลการค้า รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งการส่งออกซ่ึงเป็น
สนิ ค้าดา้ นเกษตรกรรมเปน็ สว่ นมาก97
ดังจะเห็นไดจ้ ากขอ้ มูลใน ตารางท่ี 11.5 ชว่ งกอ่ นเริม่ ตน้ แผนพฒั นาฯ ฉบับท่ี 1 ในปี 2503 จนถึง
ในช่วงท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 3 ในปี 2518 แม้ว่าสัดส่วนของการส่งออกสินค้าในภาคเกษตรจะ
ลดลงอยา่ งตอ่ เนื่อง แต่มกี ป็ ริมาณมากกวา่ ร้อยละ 50 ของการสง่ ออกสินคา้ มาโดยตลอด สะทอ้ นใหเ้ ห็น
ถึงความส�ำคัญของภาคการเกษตรท้งั ในการผลิตและในการสง่ ออก
ตารางที่ 11.5 องค์ประกอบของการส่งออกสินค้า
เกษตร อุตสาหกรรม อ่ืน ๆ รวม
9 100
พ.ศ. 2503 90 1 12 100
พ.ศ. 2508 83 5 19 100
พ.ศ. 2513 69 15 11 100
พ.ศ. 2518 69 20 21 100
พ.ศ. 2523 47 32 12 100
พ.ศ. 2528 38 50 9 100
พ.ศ. 2533 28 63
ท่ีมา: สมชาย ภคภาสน์ววิ ัฒน.์ เรอ่ื งเดียวกัน. น. 91. (เน้นโดยผเู้ ขียน)
96 เรอื่ งเดยี วกัน.
97 พรรณี บวั เล็ก. เรอื่ งเดยี วกัน. น. 189.