Page 46 - วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
P. 46
6-36 วิทยาศาสตรเ์ ทคโนโลยแี ละสง่ิ แวดลอ้ มเพ่ือชวี ิต
เรื่องท่ี 6.2.2
ก�ำเนิดระบบสุริยะ
ตน้ กำ� เนดิ ระบบสรุ ยิ ะคอื กา๊ ซและฝนุ่ ทอ่ี ยรู่ ะหวา่ งดาวฤกษท์ อ่ี ยกู่ นั เปน็ กลมุ่ กอ้ น เรยี กอกี อยา่ งหนง่ึ
ว่า เนบวิ ลา กา๊ ซส่วนใหญ่ในเนบิวลาคอื ไฮโดรเจน รองลงไปคอื ฮเี ลียม ถ้าเปน็ เนบิวลารุ่นหลังๆ จะมีธาตุ
อนื่ ๆ ดว้ ย ไฮโดรเจนและฮเี ลยี มเกดิ มานานแลว้ ในตอนตน้ ของกำ� เนดิ เอกภพตามทฤษฎบี กิ แบง แตธ่ าตหุ นกั
หรือธาตุที่มีนิวเคลียสใหญ่ๆ เช่น เหล็ก ทองค�ำ ทองแดง ยูเรเนียม เกิดตอนหลัง โดยดาวฤกษ์
ขนาดใหญ่เป็นผู้สร้างในขณะที่ระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา เนบิวลาที่จะกลายเป็นระบบสุริยะจึงเป็นเนบิวลา
รนุ่ หลงั ทป่ี ระกอบดว้ ยธาตตุ า่ งๆ และธาตเุ หลา่ นกี้ ลายมาเปน็ องคป์ ระกอบของดวงอาทติ ย์ ดาวเคราะหแ์ ละ
บรวิ ารอ่นื ๆ โดยมปี ริมาณของธาตุหนักต่างกนั แตน่ ้อยกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม
กอ่ นเกดิ เปน็ ดวงอาทติ ยแ์ ละบรวิ าร เนบวิ ลามขี นาดใหญ่กวา่ ระบบสรุ ิยะในปจั จุบันมาก อุณหภมู ิ
ของเนบวิ ลาตา่ํ อาจเพียง 20-30 เคลวินเท่านั้น แรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเองทำ� ใหเ้ นบวิ ลายุบตวั ลงอยา่ ง
ชา้ ๆ ความดนั ของก๊าซเพม่ิ ขนึ้ สง่ ผลใหอ้ ุณหภมู ิภายในสูงข้นึ ขณะท่ขี นาดของเนบิวลาลดลง ดังนั้นการ
หมุนรอบตัวเองจะเร็วขึ้นด้วยเหมือนน่ังเก้าอ้ีหมุน เม่ือกางแขนออกจะหมุนช้า เม่ือเอามือกอดอกจะหมุน
เรว็ ดงั เช่นระบบสุริยะในปจั จบุ ัน
ส่วนอุณหภูมิภายในสูงขึ้นเป็นไปตามกฎของก๊าซที่อุณหภูมิเพ่ิมข้ึนตามความดัน อุณหภูมิที่
สงู ขน้ึ ภายในเนบวิ ลาทเี่ ลก็ ลงจะหลอมวตั ถทุ เ่ี ปน็ ของแขง็ เดมิ เชน่ ฝนุ่ ใหเ้ ปน็ กา๊ ซ ตอ่ มาเนบวิ ลาจะยบุ ตวั ลง
เป็นรูปจานประกบกันโดยมีก๊าซส่วนใหญ่อยู่ในแผ่นจานท่ีหมุนวนที่ศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง ท�ำให้ก๊าซมี
อุณหภูมิสูง น�ำไปสู่การเกิดเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนก๊าซและฝุ่นที่เหลือรอบนอกกลายเป็นดาวเคราะห์และ
บริวารอย่างอ่นื
1. การเกิดดาวเคราะห์ช้ันใน
ดาวเคราะห์ชนั้ ในไดแ้ ก่ ดาวพุธ (Mercury) ดาวศกุ ร์ (Venus) โลก (Earth) และดาวอังคาร
(Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก โดยโลกอยู่ห่างดวงอาทิตย์ 1 หน่วยดาราศาสตร์หรือ
เอยู (149.6 ล้านกิโลเมตร) เมื่อดาวเหล่าน้ีอยู่ในต�ำแหน่งใกล้โลกที่สุดจะอยู่ห่างโลกภายในรัศมี 0.6
หน่วยดาราศาสตร์เท่าน้นั