Page 56 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 56
1-46 สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารมีผลดีต่อการศึกษาในหลายด้าน ดังนี้
- ช่วยลดปัญหาในเร่ืองของเวลาและสถานที่ในการเรียนการสอน กล่าวคือ เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยให้สามารถท�ำการเรียนการสอนได้ในทุกเวลาและสถานที่ตามท่ีต้องการ
- ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันเองได้ตลอดเวลา
- ผู้เรียนสามารถสืบค้นและแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารความรู้ได้ตลอดเวลา
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
- ช่วยให้การให้บริการและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ท�ำได้ง่ายขึ้น
- ช่วยให้การเรียนน่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
- กระตุ้นให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีเสมือนจริง
- ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความคิดและแนวทางในการสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ตามความสามารถของตนเอง (self-paced learning)
- การเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น Flipped classroom, Blended learning,
e-Learning, m-Learning, u-Learning, ช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจและมีประสิทธิภาพมากข้ึน
และเม่ือน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารมาใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ก็จะส่งผลดี
ในหลายด้าน คือ
1) ช่วยกระต้นุ ความสนใจในการเรียน
การนำ� เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอื่ สารมาใชใ้ นการเรยี นการสอนวทิ ยาศาสตร์ เชน่ การนำ�
เอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้จะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน Trimmel and Bachman (2004) พบว่า
เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอื่ สารมบี ทบาทสำ� คญั ในการสง่ เสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นเกดิ ความสนใจในการเรยี น และ
ยังช่วยให้ผู้เรียนสนใจที่จะศึกษาหาความรู้ท้ังในขณะท่ีอยู่ในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน อย่างไรก็ตาม
ผู้สอนก็จะต้องมีการวางแผนและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนท่ีดีด้วย
2) ช่วยในการศกึ ษาด้วยตนเอง
ในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง อินเทอร์เน็ตเป็นเคร่ืองมือส�ำคัญท่ีผู้เรียนใช้ในการค้นคว้า
หาความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ท่ีสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ ท่ัวโลก นอกจากน้ันยังใช้เป็น
เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่าง
ผู้เรียนด้วยกันเอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายต�่ำ
3) ชว่ ยสร้างทกั ษะและประสบการณ์ในการเรียน
การเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์จ�ำเป็นต้องอาศัยการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพ่ือช่วย
สร้างทักษะและประสบการณ์ในการเรียนให้กับผู้เรียน แต่เน่ืองจากวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ท่ีใช้เป็นห้อง
ปฏิบัติการเป็นสิ่งที่สถานศึกษาบางแห่งไม่สามารถจัดหามาให้ผู้เรียนได้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร
ช่วยให้ผู้เรียนท�ำการทดลองโดยผ่านทางห้องปฏิบัติการเสมือน (Virtual laboratory) ได้อย่างง่ายดาย
นอกจากน้ัน การทดลองบางอย่างท่ีไม่สามารถท�ำได้ในสถานการณ์จริง เช่น การทดลองทางเคมีท่ีมีอันตราย
หรือการทดลองทางฟิสิกส์ท่ีต้องใช้อุปกรณ์ท่ีมีราคาแพงก็สามารถใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนแทนได้ หรือการ